Money

คุณแม่ยุคใหม่ วางแผนการเงินอย่างไรให้รอบด้าน

Post by | Admin

Fin_Planing_for_Mom_628x443

ความฝันของใครหลายคน ที่ต้องการมีลูกเพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่นเต็มไปด้วยความสุข การมีลูกสักคนต้องเตรียมพร้อมรับมือหลาย ๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าคลอด ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน ค่ากิจกรรม และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอีกมากมาย

คุณแม่ในยุคปัจจุบันจึงมีบทบาทสำคัญมากกว่าการเลี้ยงดูลูก เพราะผู้หญิงยุคใหม่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานและจัดการเรื่องต่าง ๆ ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี และยังมีส่วนสำคัญในการวางแผนเพื่อให้อนาคตของลูกเป็นไปตามเป้าหมาย  วันนี้เราจึงมีแนวทางการวางแผนทางการเงินสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ ที่ช่วยส่งผลให้อนาคตของลูกเเละอนาคตของคุณเติบโตขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างมีคุณภาพ

การวางแผนทางการเงินเริ่มต้นจากการจัดสรรรายได้ 
คือการบริหารจัดการรายรับและรายจ่าย โดยมีสูตร 50 - 30 - 20 แบ่งสัดส่วนรายได้ตามหมวด ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

• Need จำเป็น (50%)  สิ่งจำเป็นในชีวิตที่คุณขาดไม่ได้และจำเป็นต้องจ่าย เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูก 

• Want อยากได้ (30%) สิ่งที่เราอยากได้ เพื่อเติมเต็มความสุข หรือเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เช่น gadget การท่องเที่ยว เสื้อผ้า 

• Save เก็บออม (20%) กันไว้เผื่อเป้าหมายใหม่ในอนาคต หรือเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน สำหรับบางครอบครัวอาจกันส่วนนี้ไว้ได้น้อยเพราะค่าใช้จ่ายที่จำเป็นนั้นค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่ควรออมต่ำกว่า 10% เพราะยิ่งมีส่วนนี้มากความรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจก็จะมากขึ้นตามไปด้วย 


บริหารเงินออมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยแบ่งเงินที่เก็บออมเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เก็บเผื่อยามฉุกเฉิน ควรมีให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของเราต่อเดือนอย่างน้อย 3-6 เดือน ควรฝากบัญชีออมทรัพย์หรือเก็บในรูปแบบเงินสดเพื่อความคล่องตัวในการนำออกมาใช้เมื่อจำเป็น กับอีกส่วนหนึ่งที่นำมาต่อยอดให้เกิดรายรับเพิ่ม หรือสร้างมูลค่าเงินออมให้สูงขึ้น ด้วยการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นลงทุนในทองคำ อสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวม หุ้น รวมถึงการทำประกัน 

เมื่อกล่าวถึงการประกันภัยนับว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ทั้งช่วยสร้างส่วนเก็บออม (Save) และป้องกันความเสี่ยงจากการสูญเสียส่วนของ (Need) และ (Want) ได้อีกด้วย  ดังนั้นการทำประกันจึงเป็นทั้งการลงทุนและให้ความคุ้มครอง ที่คุณแม่ควรมีอยู่ในแผนการเงินของครอบครัว 


ประกันช่วยดูแลทุกช่วงชีวิตและช่วยคิดอย่างรอบด้าน
เมื่อเป้าหมายของคุณแม่คือการเห็นอนาคตที่ดีของลูกในทุกช่วงวัย การตั้งเป้าหมายล่วงหน้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ และหากจะเลือกวางแผนทางการเงินด้วยการทำประกันให้เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกและของคุณแม่ด้วยแล้ว ก็จะเห็นแผนที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

• ช่วงแรกคลอดถึงวัยเด็กของลูก ประกันสุขภาพของลูกและประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรง ของคุณพ่อคุณแม่นับเป็นเรื่องจำเป็น เพราะค่ารักษาปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ประกันสุขภาพจะช่วยป้องกันความเสี่ยงไม่ให้สูญเสียเงินแบบไม่คาดคิด
 
• เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน แน่นอนว่าย่อมอยากให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด อาจจะมองหาประกันสะสมทรัพย์ที่ซื้อให้ลูกหรือตัวของคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อดีของประกันประเภทนี้คือมีเงินคืนให้อย่างสม่ำเสมอ ตามสัญญาประกันชีวิต เช่น ทุกปี/ทุก 2 ปี/ทุก 3 ปี และเป็นการจ่ายเบี้ยระยะสั้น ๆ เช่น 5/10/15 ปี มีระยะเวลาครบกำหนดสัญญาที่แน่นอนและไม่ยาวมาก เช่น 12/15/20/25 ปี จึงสามารถนำมาใช้ในการวางแผนการศึกษาของลูกได้ เช่น อีก 10 ปีข้างหน้าลูกจะเข้ามหาวิทยาลัย อีก 5 ปีถัดไปลูกจะเรียนต่อปริญญาโท เป็นต้น สำหรับในช่วงเริ่มต้นสร้างครอบครัวใหม่ ๆ อาจจะซื้อไว้ส่วนหนึ่ง แล้วเมื่อถึงช่วงวัยที่คุณแม่มีหน้าที่การงานมั่นคงมากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น (วัยทำงานตอนกลาง อายุ 35-45 ปี) ก็สามาถซื้อเพิ่มได้อีก

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพก็เป็นสิ่งที่คนมีครอบครัวควรต้องมี เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราเมื่อไหร่ การทำทุนประกันสูง ๆ เท่าที่เราชำระค่าเบี้ยไหวเอาไว้ จะช่วยซื้อความสบายใจล่วงหน้าได้ว่าแผนการศึกษาของลูกจะไม่สะดุด และเงินก้อนนี้ก็ยังส่งมอบเป็นมรดกให้ลูกหลานในอนาคตได้เช่นกัน

• ประกันชีวิตที่ไม่ควรมองข้ามคือประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ควรมีไว้ก่อนอายุ 50 ปี (วัยทำงานตอนกลางถึงตอนปลาย อายุ 35-50 ปี) เพื่อเป็นการเตรียมเงินไว้ใช้หลังวัยเกษียณ (อายุ 55-88 ปี มีเงินบำนาญรายปีให้) จะได้มีเงินสำหรับใช้จ่ายประจำวัน ท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยที่ไม่ต้องรบกวนเงินของลูก ๆ ที่จะต้องทำหน้าที่ดูแลครอบครัวของเขาเช่นกัน

• นอกจากนี้ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit linked) ที่เป็นการรวมเอาข้อดีของประกันชีวิตแบบตลอดชีพกับการลงทุนในกองทุนรวมมาไว้ด้วยกัน  ทำให้ได้ทั้งความคุ้มครองแบบระยะยาว และเพิ่มเติมคือผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอีกด้วย จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันชีวิตทั่วไป ถ้ามีประกันชีวิตพื้นฐานครบถ้วนแล้ว หากยังพอจะมีกำลังในการจัดสรรเงินออมมาจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม ประกันชีวิตควบการลงทุนก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย


อย่างไรก็ตาม การทำประกันหรือการลงทุนในแบบต่าง ๆ ไม่ได้มีสูตรตายตัว เพราะเป้าหมายของแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน ให้มองว่าวัตถุประสงค์หรือความต้องการของเราคืออะไรบ้าง หากต้องการสร้างเงินให้งอกเงยเพื่ออนาคต พร้อม ๆ กับความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพด้วย ก็มาดูต่อว่าในแต่ละปีสามารถจัดสรรเงินมาลงทุน หรือจ่ายเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ และต้องการให้ได้ผลตอบแทนภายในกี่ปี แล้วจึงมาเลือกรูปแบบการลงทุนหรือแบบประกันที่ตอบโจทย์มากที่สุด นอกจากนี้ควรมีการติดตามข่าวสารด้านการเงินการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ หรือหาที่ปรึกษาทางการเงินที่จะช่วยวางแผนในรูปแบบที่เหมาะสมได้
 
เพราะคุณภาพชีวิตของลูกนั้นสำคัญ คงจะดีไม่น้อยที่คุณแม่จะเตรียมแผนทางการเงินที่ครอบคลุมรอบด้านไว้เพื่อเป้าหมายในอนาคต สำหรับคุณแม่ที่สนใจผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อวางแผนทางการเงิน คลิก https://bank.kkpfg.com/th/personal-banking/bancassurance/life-insusrance

จะเห็นได้ว่า 6 จังหวัดที่กล่าวถึงนั้น ณ วันนี้เป็นจังหวัด “ สีแดงเข้ม” ทุกจังหวัดและผลผลิตรวมกันมีมูลค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีของประเทศไทย แต่มีประชากรรวมกันประมาณ 20% ของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นเขตเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศและผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมก็คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 55% ของผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ

จะสังเกตได้อีกด้วยว่าจังหวัดระยองนั้นเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดที่เกือบ 8 แสนล้านบาท มากกว่ากรุงเทพฯ แม้จะมีประชากรเพียงหนึ่งในเก้าของประชากรของกรุงเทพฯ และเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำคือการผลิตพลังงานและผลิตพันธ์ปิโตรเคมีเป็นหลักอีกด้วย ดังนั้นหากการผลิตได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องที่รุนแรงได้


ในจังหวัดที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต่อผลผลิตโดยรวมของจังหวัดที่สูงมาก เช่นคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80.26% สำหรับจังหวัดระยองและ 78.39% สำหรับจังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น ในขณะที่ยอดรวมของประเทศนั้นภาคอุตสาหกรรมมีผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนเพียง 31.12% ของจีดีพี สำหรับกรุงเทพฯ นั้นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าภาคอุตสาหกรรมคือภาคบริการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก COVID-19 ไปแล้ว รวมทั้งการค้าปลีก-ค้าส่ง


การมีมาตรการที่สามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 โดยรวมและการจำกัดการระบาดของ COVID-19 ไม่ให้ส่งกระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม จึงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดชะตากรรมของจีดีพีไทยในปี 2021 นี้ครับ



บทความโดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ จากนสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 สิงหาคม 2564 

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

Suggested
29 Jul 2020
เตรียมเงินอย่างไร ถ้าอีก 9 เดือนคุณจะเป็นแม่..
Money
05 May 2020
ประกันภัยคืออะไร แบบไหนที่ตอบโจทย์
Money
29 May 2020
ทุนประกันชีวิตเท่าไหร่ที่เรียกว่าพอ
Money