Money

ทำอย่างไรดี กับกองทุนที่คนไทยติดดอยหนักมาก น้ำมัน & ทองคำ

Post by | Admin

sme-new-4-thumbnail

จากบทความฉบับก่อนหน้าเรื่อง SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal ที่เสนอทางออกของ SMEs ไทยในยุค New Normal (เติบโตช้า ซึมยาว และผันผวนมากขึ้น) โดยการจับกระแส Megatrend 4 ด้าน ได้แก่ สังคมผู้สูงอายุ สังคมดิจิตอล สังคมชนชั้นกลาง และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอด้านแรกไปแล้ว คือ การจับไปกับกระแสสังคมผู้สูงอายุ และมาในฉบับนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอทางออกของ SMEs ผ่านการจับกับกระแส Megatrend ที่สอง คือ "การจับไปกับกระแสสังคมดิจิตอล หรือ เทคโนโลยีดิจิตอล" ซึ่งมีประเด็นนำเสนอ ดังนี้

เทคโนโลยีดิจิตอล (Digitalization) เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตในปัจจุบันของผู้บริโภค ผู้ผลิต และภาครัฐทั่วโลกนอกจากนี้ในอนาคตจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น โดยเทคโนโลยีดิจิตอลจะนำพาทุกคนเคลื่อนย้ายออกจากโลกความจริง (Real world) เข้าสู่โลกเสมือนจริง (Virtual world) และยุคที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกับเครือข่าย (Internet of thing) เพิ่มมากขึ้น ผ่านเทคโนโลยี SMAC ได้แก่ (1) S: Social technology เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผู้ผลิตได้ง่ายมากขึ้น และบ่งชี้ Lifestyles ของผู้บริโภคได้ชัดเจน เช่น Facebook, YouTube และ Line (2) M: Mobile technology ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารหรือการทำธุรกรรมต่างๆ ได้ในทุกที่และทุกเวลาผ่านอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น Smartphone และ Tablet (3) A: Analytic technology ทำให้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจได้ปริมาณ ความเร็ว และความลึกที่มากขึ้น ในทุกที่และทุกเวลา แต่มีต้นทุนที่ถูกลง เช่น Big data technologies เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลการตลาด กระบวนการผลิต หรืออื่นๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ และ (4) C: Cloud technology หรือ Cloud computing เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจสำหรับระบบหรือสิ่งอื่นๆ ที่ธุรกิจไม่อยากทำเอง เช่น ระบบการจัดเก็บข้อมูล

 

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ อีก เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) คือ อุปกรณ์ต่างๆ ประมวลผลและทำงานได้เองภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printing) คือ เทคโนโลยีการสร้างแบบเสมือนจริง 3 มิติ และ Sensor technology

 

สังคมดิจิตอลในไทย

สำหรับประเทศไทย สังคมดิจิตอลก็กำลังดำเนินไปไม่แตกต่างกันกับที่ดำเนินอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในฝั่งของผู้บริโภค หากพิจาณาจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติในปี 2558 ที่บ่งชี้ว่า (1) คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 78% ใน 5 ปีที่ผ่านมาและใช้ผ่านอุปกรณ์พกพาเป็นส่วนใหญ่ เช่น Smartphone Tablet และ Laptop และ (2) คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อ/จองสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในช่วง 5 ปีผ่านมา โดยส่วนใหญ่อยู่ในหมวดเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ รองลงมาคือ หมวดอาหาร เครื่องดื่ม และสุขภาพ หมวดจองตั๋วออนไลน์ นอกจากนี้ข้อมูลจากบริษัท โธธ โซเชียล ในงาน Thailand Zocial Awards เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 59 ยังพบว่าคนไทยมีจำนวนผู้ใช้ Facebook สูงเป็นอันดับ 8 ของโลกที่ 41 ล้านคน

 

ในฝั่งของผู้ผลิตก็มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิตอลมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประมาณมูลค่าธุรกิจ e-Commerce ของไทยในปี 2558 อยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 16% ของมูลค่าเศรษฐกิจไทย (GDP) รวมถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจรูปแบบใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิตอล เช่น Ookbee ธุรกิจหนังสือออนไลน์ Wongnai แอปพลิเคชั่นรีวิวและรวบรวมร้านอาหาร และผูกปิ่นโตข้าว โครงการอาสาตัวกลางเชื่อมชาวนาปลูกข้าวอินทรีย์กับผู้บริโภคในเมืองผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น หรือแม้แต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของธุรกิจไทยก็หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น จนส่งผลให้ตลาดโฆษณาออนไลน์ของไทยขยายตัวเป็นอันดับสองในอาเซียน

 

SMEs เกาะกับสังคมดิจิตอลอย่างไร

กระแสสังคมดิจิตอลเป็นสิ่งที่กำลังดำเนินต่อไปและทวีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น คงหนีไม่พ้นที่ SMEs จะต้องฉกฉวยประโยชน์จากกระแสดังกล่าว โดยสิ่งที่ SMEs อาจจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่

 

ประเด็นที่หนึ่ง "เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นมากกว่า e-Commerce หรือการตลาดออนไลน์" ในปัจจุบัน SMEs หลายรายได้หาประโยชน์จากกระแสสังคมดิจิตอลแล้ว โดยเฉพาะในรูปแบบการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ รวมถึงการนำเสนอและขายสินค้าผ่านช่องทางดิจิตอล กินรวมไปถึงการสื่อสารกับ Supplier เช่น Website หรือ Social network ต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว SMEs สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้ตลอดกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ หรือกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

 

ตัวอย่างเช่น นาข้าวในประเทศมาเลเซียได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตของนาข้าว ได้แก่ Soil sampling: การตรวจสอบตัวอย่างดินก่อนทำนาแต่ละรอบ Soil mapping: นำข้อมูลจากตัวอย่างดินมาทำแผนที่ดิจิตอลเพื่อดูแลดินในแต่ละแปลงอย่างเหมาะสม Plant growth monitoring: ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดการเติบโต Variation rate application: ใช้เซ็นเซอร์ติดตามในด้านต่างๆ เพื่อวางแผนและแก้ไขให้ผลผลิตมีคุณภาพตามต้องการ เช่น วัดคลอโรฟิล วัดความชื้นในดิน และ Yield mapping: ตรวจวัดผลผลิตที่ได้ในแต่ละแปลงเพื่อทำแผนที่ผลผลิตดิจิตอล และใช้วางแผนเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป

 

ในฟากของอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านสามารถนำ 3D Printing technology เพื่อผลิตสินค้าที่มีความเฉพาะกับลูกค้าในแต่ละคน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้มากกว่าสินค้า Mass products และผู้ออกแบบ/ผลิตเสื้อผ้าสามารถใช้ 3D body scanner เพื่อวัดรูปร่างของลูกค้าอย่างแม่นยำ 3D garments เพื่อเห็น Pattern ของเสื้อผ้าตามลักษณะของเนื้อผ้าอย่างเสมือนจริง และ 3D virtual try-on เพื่อให้ลูกค้าสามารถเห็นตัวเองในขณะที่ใส่เสื้อผ้าที่ผู้ผลิตออกแบบ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงเพิ่มคุณภาพของเสื้อผ้าที่ออกแบบ

 

ในกลุ่มธุรกิจบริการก็มิได้น้อยหน้า เช่น ร้านอาหารนำ Tablet มาใช้รับออเดอร์อาหารจากลูกค้าโดยตรง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพนักงาน โรงแรมสำหรับ Backpacker

 

นอกจากนี้ ธุรกิจยังสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลต่อการบริหารงานภายในองค์กร เช่น FlowAccount ระบบบัญชีออนไลน์สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ โปรแกรม CRM เพื่อบริหารข้อมูลลูกค้า ระบบ e-Supply chain เพื่อบริหารจัดการคลังสินค้า ระบบ e-Banking และ Promptpay เพื่อบริหารจัดการกระแสเงินเข้า-ออกของธุรกิจ เป็นต้น

 

ประเด็นที่สอง "ติดตามเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ" เนื่องจากในสังคมดิจิตอลที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ SMEs อาจต้องติดตามข่าวสารด้านเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ นอกเหนือจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของตนเอง รวมถึงทำความเข้าใจในเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านั้น เพื่อจะได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในทุกช่วงเวลา

 

ประเด็นสุดท้าย "อย่าถลำตัวไปกับทุกเทคโนโลยีดิจิตอล" เทคโนโลยีดิจิตอลในด้านต่างๆ สามารถสร้างให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ตามมาด้วยต้นทุนที่สูงต่ำแตกต่างกันในแต่ละเทคโนโลยี และแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ดังนั้น SMEs ควรพิจารณารายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหรือต้นทุนการผลิตที่คาดว่าจะลดลง อันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ เปรียบเทียบกับต้นทุนการซื้อหรือการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น เพราะไม่ใช่ทุกประเภทธุรกิจ ทุกขนาดธุรกิจ จะมีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีดิจิตอลเสมอไป

 

จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสังคมดิจิตอลได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ทั้งนี้ สำหรับทางออกที่เกาะกระแส Megatrend อีก 2 ด้านสำคัญที่เหลือ ขอยกยอดไว้ในบทความถัดไป

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

Suggested
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (1)
Business
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (2)
Business
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (3)
Business