Money

SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (2)

Post by | Admin

sme-new-2-thumbnail

บทความนี้เป็นตอนต่อจากบทความแรก ที่ได้ฉายภาพถึงสภาวะเศรษฐกิจในยุคต่อไปที่มีชื่อว่า New Normal โดยมีลักษณะพิเศษคือ ขยายตัวต่ำ การค้าน้อย ราคาโภคภัณฑ์ถูก และผลตอบแทนการลงทุนต่ำและผันผวน

อย่างไรก็ตาม แม้ภาวะเช่นนี้จะทำให้การดำเนินธุรกิจยากลำบาก แต่ก็ยังพอมีโอกาสให้กับ SMEs ได้บ้าง โดยจะยังมี “มหากระแส” หรือ Megatrend 4 ด้านที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ดังนี้

 

กระแสแรก ได้แก่ Aging Society หรือการที่ประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผสมผสานกับกระแสที่สตรีมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยกระแส Aging Society ที่สูงขึ้นทั่วโลกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชากรในยุค Baby Boomer ที่เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นจะเข้าสู่วัยเกษียณในปัจจุบัน ประกอบกับการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวเพื่อควบคุมจำนวนบุตร ทำให้ครอบครัวรุ่นใหม่มีบุตรน้อยเมื่อเทียบกับในยุคก่อนหน้า นอกจากนั้น การสาธารณสุขและพัฒนาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้น ประกอบกับกระแสรักสุขภาพที่มีมากขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมของประชาชนในยุคต่อไปที่จะใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ รวมถึงดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระแสดังกล่าว เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) แนวโน้มการประกันสุขภาพ เวชภัณฑ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ

 

ในอีกด้านหนึ่ง บทบาทของสตรีในระบบเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นนั้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการแรงงานที่มากขึ้น ประกอบกับการศึกษาที่เข้าถึงสังคมทุกชนชั้นอย่างครอบคลุม ทำให้สตรีมีโอกาสเข้าถึงตำแหน่งงานเฉพาะทางมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของสตรีเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงามมีความต้องการมากขึ้นในอนาคต

 

กระแสที่สอง ได้แก่เทคโนโลยีในรูปแบบ Digitalization (หรือที่เรียกกันว่า Industrial 4.0)อันได้แก่ การผสมผสานระหว่างอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันกับการติดต่อสื่อสารในรูปเครือข่ายเข้าด้วยกัน (Cyber-Physical System)ทำให้การผลิต การทำธุรกิจ หรือแม้แต่การใช้ชีวิต เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยอาจแบ่งนวัตกรรมในยุค Industrial 4.0 นี้ออกเป็น 8 นวัตกรรม กล่าวคือ

 

(1) Social Network หรือสื่อสังคมออนไลน์ (2) Mobile Platform หรือรูปแบบการสื่อสารด้วยเครื่องมือพกพาได้ (3) Artificial Intelligence (AI) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ อันได้แก่นวัตกรรมที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดเอง ทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้โดยอิสระ (4) Cloud Computing หรือการที่ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์จะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เนต ซึ่งมักจะนำมาซึ่งข้อมูลจำนวนมาก และสามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อใช้ต่อยอดทางธุรกิจ (Big Data Analytics) ได้ด้วย (5) Additive Manufacturing (AM) หรือ 3D Printing หรือเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่สามารถสร้างชิ้นงานเป็นวัตถุจับต้องได้ (3 มิติ) แทนที่จะเป็นรูปในกระดาษ (2 มิติ) (6) Internet of Things (IoT) หรือเครือข่ายที่อนุญาตให้สิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ยานพาหนะ อาคาร และสิ่งอื่น ๆ สามารถสื่อสาร เชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ (7) Virtual Reality หรือความเป็นจริงเสมือน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่จะทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริงที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ และ (8) ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle)

 

นวัตกรรมทั้ง 8 นี้จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น รูปแบบการผลิตที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น สามารถสร้างอุปกรณ์ต้นแบบได้ง่าย มีข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์อย่างมหาศาล เห็นภาพที่หลากหลายอย่างทันท่วงที เป็นต้น ซึ่ง ธุรกิจ SMEs ที่เกิดใหม่อาจสามารถนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เหล่านี้มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในการผลิต หาช่องทางจัดจำหน่าย รวมถึงใช้ข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้

 

กระแสที่สาม ได้แก่การเติบโตของคนชั้นกลางในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่ยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจเนื่องจากกระแส Urbanization หรือ การขยายตัวของสังคมเมือง อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่จะเคลื่อนจากชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น โดยในไทยนั้น แม้ว่าสัดส่วนประชากรในเขตเมืองของไทยเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนประชากรในเมืองที่ใหญ่ที่สุด (กรุงเทพมหานคร) กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้การขยายตัวของเมืองลำดับที่สองเป็นต้นไปมีมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ของประชาชนในแถบหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ขยายตัวสูงกว่าในกรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน

 

กระแส Urbanization นี้ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ Lifestyle การบริโภคแบบคนเมือง รวมถึงความต้องการที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานในหัวเมืองขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว

 

กระแสสุดท้ายได้แก่กระแสภูมิภาคนิยม อันเป็นผลจากการเจรจาการค้าในระดับพหุภาคีโดยเฉพาะในกรอบองค์กรการค้าโลก (WTO) ไม่คืบหน้า ส่งผลให้ความนิยมในเขตการค้าเสรีในกรอบภูมิภาค (Regional Trade Agreement) เช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) มีเพิ่มขึ้น และทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาคเพิ่มขึ้นทวีคูณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยทั้งในแง่ของการค้าและการลงทุน เนื่องจากทำเลที่ตั้งของไทยเป็นจุดศูนย์กลางของ AEC ที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศเพื่อนบ้านที่เศรษฐกิจมีศักยภาพการเติบโตสูง อันได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

 

ทั้งหมดนี้คือการเกริ่นนำถึง Megatrend ทั้ง 4 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ SMEs ในการทำธุรกิจต่อไป แต่จะเป็นโอกาสและความเสี่ยงต่อ SMEs อย่างไรนั้น หาคำตอบได้ในบทความฉบับต่อไป

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FB Page : ล้มยักษ์ / Lom Yak

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

Suggested
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (1)
Business
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (3)
Business
24 Jan 2019
SMEs จะอยู่รอดอย่างไรในยุค New Normal (4)
Business