Money

เศรษฐกิจไทยเดินหน้าหลังเปิดประเทศ.. แต่ท้องฟ้ายังมีเมฆมาก

Post by | Admin

GDP-2022-after-reopen_Info_628


Key Takeaways:

  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร คาดเศรษฐกิจไทยปีหน้าโต 3.9% แต่เศรษฐกิจจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนโควิดจนถึงปี 2023 โดยทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะขยายตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ยังมีความเสี่ยง
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยในปี 2022 คาดว่าจะอยู่ที่ราว 5.8 ล้านคน ต่ำกว่าระดับ 40 ล้านคนในปี 2019 โดยการท่องเที่ยวจะทยอยกลับมาคึกคักมากขึ้นในครึ่งปีหลัง แต่นักท่องเที่ยวจีนจะยังไม่กลับมากระทั่งปลายปี
  • KKP Research ประเมินว่าไทยจะไม่กลับไปปิดประเทศอีก โดยไทยเป็นชาติต้น ๆ ในเอเชียที่เริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สะท้อนการเปลี่ยนนโยบายเป็นการอยู่ร่วมกับโควิด (Living with Covid)
  • ปัจจัยเพิ่มเติมที่ต้องจับตาในปี 2022 ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น (2) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทยที่อาจถูกกดดันจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา และ (3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกเหนือจากความเสี่ยงของการระบาดรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีแรก
  • KKP Research ประเมินว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตลอดปี แต่อาจเริ่มปรับขึ้นได้ในช่วงปลายปี หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น หรือการท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็วกว่าคาด
  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มแผ่วลงจากความตึงตัวด้านอุปทานและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่อาจชะลอตัวจากการปรับเปลี่ยนนโยบายของทางการจีนในระยะต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตน้ำแล้งที่ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2019 และมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในปี 2020 คำถามสำคัญคือ วิกฤตในครั้งนี้เกิดจากอะไร มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร  บทวิเคราะห์ของ KKP Research จะตอบคำถามเหล่านี้

วิกฤตน้ำแล้งปีนี้รุนแรงแค่ไหน?

สัญญาณภัยแล้งในปีนี้ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีสาเหตุหลักจากปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน (ภัยแล้ง) ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 ส่งผลให้ในปีถัดมาเกิดฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนนาน 2 เดือน (มิ.ย.–ก.ค. 2019) ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 10% และปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อนในปี 2019 ไม่ว่าจะเป็น “วิภา” "โพดุล" และ "คาจิกิ" ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และบางพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม แต่ฝนที่ตกส่วนใหญ่ตกในพื้นที่ใต้เขื่อนจึงไม่ได้ช่วยเติมน้ำในเขื่อนเท่าใดนัก และเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง (เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์) จึงทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ได้ หรือ “น้ำต้นทุน” ต่ำกว่าความต้องการใช้จริง

จากข้อมูลของคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ณ วันที่ 20 ก.พ. 2020 พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) อยู่ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่าภัยแล้งปี 2015-16 (รูปที่ 1) และหากพิจารณาเป็นรายภูมิภาคพบว่า ภาคกลางน่าเป็นกังวลมากที่สุด เนื่องจากระดับน้ำของทั้ง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนกระเสียว และเขื่อนทับเสลา อยู่ในระดับต่ำที่ 19% – 22% ของความจุสูงสุดของเขื่อน ซึ่งต่ำกว่าทั้งค่าเฉลี่ยในอดีตและระดับน้ำในวันเดียวกันเมื่อปี 2016 หลายเขื่อนในภาคเหนือประสบกับปัญหาน้ำน้อยด้วยเช่นกัน มีเพียงภาคตะวันตกที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี (รูปที่ 2)

ระดับน้ำต้นทุนที่ต่ำต่อเนื่องมาจากปีก่อน และปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์น้อยและเริ่มแห้งขอด จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ลากยาวไปจนถึงเดือน มิ.ย. เทียบเคียงได้กับวิกฤตภัยแล้งในปี 2016 แต่ปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ย่ำแย่ไปกว่าปี 2016 คือ ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้จำเป็นต้องระบายน้ำในเขื่อนเพื่อใช้เจือจางและผลักดันน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามา ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่จะได้รับการจัดสรรสำหรับเกษตรกรรมน้อยลงจนอาจเข้าขั้นวิกฤต นอกจากนี้ หากในช่วงครึ่งปีหลังปริมาณฝนยังคงต่ำกว่าค่าปกติ อาจยิ่งทำให้สถานการณ์ในปี 2020 รุนแรงกว่าภัยแล้งที่เคยเกิดในปี 2016

# อื่นๆที่น่าสนใจ

แนะนำจากบทความ
16 ก.ค. 2564
จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป
Economic
30 ส.ค. 2564
ตีแผ่สมรภูมิ E-Commerce ไทย ตรงไหนคือโอกาส
Economic
11 พ.ค. 2564
A Little Boy in the War of the Titans - Part I
Economic
06 ก.ย. 2564
ชะตาเศรษฐกิจไทย ใต้เงาสงครามเทคโนโลยี
Economic