Money

เมื่อ SME ต้องกระจายความเสี่ยง

Post by | Admin

เมื่อ-SME-ต้องกระจายความเสี่ยง_628x443

เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจเริ่มถึงจุดอิ่มตัวขาดความสามารถในการทำกำไรอย่างเห็นได้ชัด ในฐานะเจ้าของกิจการมีความจำเป็นในการมองหาแนวทางและกลยุทธ์เพื่อขยายธุรกิจหรือทางรอดใหม่ๆ วันนี้ KKP Advice Center ขอนำเสนอกลยุทธ์การกระจายธุรกิจ (Diversification strategy) ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจไปยังผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดใหม่ หรือ ธุรกิจใหม่ซึ่งต้องตัดสินใจ ภายใต้สถานการณ์และรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบรวมถึงเพื่อเกิดประโยชน์กับกิจการมากที่สุด กลยุทธ์การกระจายธุรกิจนี้เป็นหนึ่งใน 4 ของกลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) ซึ่งอธิบายไว้โดย Ansoff’s เกี่ยวกับ Product matrix (Ansoff,1975) เราลองมาดูกันว่าการกระจายธุรกิจแบบไหนที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้

กระจายไปยังธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กัน (Related diversification strategy)
การกระจายไปยังธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กันเป็นการใช้จุดแข็งและทรัพยากรที่ธุรกิจมี เพื่อนำไปต่อยอดโดยวิธีการนี้จะทำให้ธุรกิจไม่ต้องมีต้นทุนในการสรรหาทรัพยากรใหม่ๆ ให้มากนัก และยังมีอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันทำธุรกิจสบู่ล้างหน้าต่อมาตรวจสอบยอดขายพบว่ามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากคนนิยมใช้โฟมล้างหน้ามากขึ้น แล้วเห็นโอกาสจากที่พ่อแม่ปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดูแลลูก เลยแตกไลน์ผลิตภัณฑ์เป็นสบู่สำหรับเด็กแทนเพื่อเพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย หรือ บริษัทเครื่องสำอางหรับผู้หญิงเห็นโอกาสจากตลาดผู้ชายที่นิยมการดูแลตัวเองมากขึ้น ได้ออกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายขึ้น

กระจายไปยังธุรกิจที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Unrelated diversification strategy)
วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่เสี่ยงมากเพราะธุรกิจต้องกระโดดลงไปในธุรกิจที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดิมได้ประเมินสถานการณ์แล้วเป็นรองคู่แข่งที่อยู่ในตลาดแน่นอน และเล็งเห็นว่าการเข้าสู่ตลาดใหม่จะมีโอกาสในการทำกำไรมากกว่า ซึ่งบางบริษัทก็เลือกที่จะขายธุรกิจเดิม ไปเริ่มธุรกิจใหม่ก็มี หรือจะค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และประคองธุรกิจเดิมไปก่อนก็มีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทฟิล์มยักษ์ใหญ่ หลังจากที่ธุรกิจฟิล์มถ่ายภาพถูก Disrupt จากวิทยาการดิจิตอล ธุรกิจจึงตัดสินใจออกไปนอกธุรกิจนี้ไปสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม

การกระจายธุรกิจเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้ แต่ขณะเดียวกันจำเป็นอย่างยิ่งต้องประเมินสถานการณ์ให้ดี ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Five Forces Model ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าแรงกดดันในอุตสากรรมนี้เป็นอย่างไรบ้าง หรือมองหาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อลดระยะเวลาในการลองผิดลองถูก ซึ่งเดี๋ยวนี้สถาบันการเงินต่างๆ ที่เป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ SME ก็ได้นำเสนอแนวทางช่วยเหลืออาทิ การให้คำปรึกษารวมถึงธนาคารเกียรตินาคิน ก็ได้จับมือกับบริษัทชั้นนำที่มีศักยภาพมาให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจ ภายใต้ KK SME ฟรีโซลูชั่น ดีลและสิทธิพิเศษ เพื่อลูกค้าสินเชื่อ SME ธนาคารเกียรตินาคิน รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

 

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

# อื่นๆที่น่าสนใจ