Money

Active Fund vs Passive Fund เลือกลงทุนแบบไหนดี

Post by | Admin

Active_Passive_Fund_628x443

การลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ผู้ลงทุนควรรู้อันดับแรกๆ คือกองทุนลงทุนในสินทรัพย์อะไร เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ ลงทุนแบบผสม หรือสินทรัพย์ทางเลือก เป็นต้น รวมถึงมีการลงทุนในต่างประเทศหรือไม่ มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนหรือความอ่อนไหวต่อปัจจัยอะไรบ้าง และผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอย่างไร

อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องรู้ก็คือกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ในการบริหารกองทุน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกว่าผู้ลงทุนควรคาดหวังผลตอบแทนอย่างไร แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ การบริหารแบบเชิงรุก หรือ Active Fund และการบริหารแบบเชิงรับ หรือ  Passive Fund กองทุนทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการลงทุนแบบไหน ลองมาติดตามรายละเอียดกันเลย

กองทุนรวมแบบ Active Fund มีเป้าหมายในการลงทุนคือการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิง (Benchmark) หรือ การพยายามเอาชนะตลาด ผู้จัดการกองทุนจะต้องใช้ความสามารถในการเลือกหลักทรัพย์เข้าพอร์ต โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ในการเลือกหลักทรัพย์ 2 แบบได้แก่

1. Top-down Analysis คือวิเคราะห์จากภาพรวมเศรษฐกิจ และลงไปในระดับอุตสาหกรรม ก่อนที่จะเลือกหุ้นแต่ละตัวจากปัจจัยพื้นฐาน 
2. Bottom-up Analysis ซึ่งจะตรงกันข้ามจากวิธี Top-down คือเป็นการเลือกตัวหลักทรัพย์ก่อนที่จะพิจารณาปัจจัยด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ

Active Fund มีข้อดีคือจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามภาวะตลาด ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงที่ตลาดไม่ไปไหน และเหมาะสำหรับการลงทุนที่เน้นโอกาสทำกำไรระยะสั้น

ขณะที่กองทุนรวมแบบ Passive Fund คือกองทุนรวมที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม Passive Fund มีโอกาสที่ผลตอบแทนอาจจะสูงหรือต่ำกว่า Benchmark ได้ เนื่องจากสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนอาจไม่ได้เหมือนกับดัชนีอ้างอิงแบบ 100%

ข้อดีของกองทุนแบบนี้คือมีค่าธรรมเนียมและความเสี่ยงต่ำเนื่องจากเป็นการลงทุนตามดัชนีอ้างอิง จึงลดต้นทุนในการบริหารจัดการ รวมถึงลดความเสี่ยงจากการเลือกหลักทรัพย์ผิดตัว

อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมถึงต้องเลือกลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามตลาด แทนที่จะลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด คำตอบก็คือในตลาดที่มีประสิทธิภาพ จะไม่มีใครสามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดระยะยาว ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรับจึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว และยังมีต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำอีกด้วย


Active Fund vs Passive Fund ควรเลือกอะไรดี
มาถึงสิ่งที่หลายคนอยากรู้ว่าควรเลือกลงทุนในกองทุนประเภท Active Fund หรือ Passive Fund

จริงๆ แล้วเราสามารถลงทุนได้ทั้งกองทุน Active Fund และ Passive Fund ด้วยการแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ส่วนตามกลยุทธ์ Core-satellite Portfolio ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่น และเหมาะกับทุกสภาวะตลาด ที่ต้องการสร้างผลตอบแทนตามการเติบโตของตลาดระยะยาว ขณะเดียวกันก็ไม่พลาดโอกาสทำกำไรที่สูงขึ้นจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้นด้วย

การลงทุนส่วนหลัก (Core Portfolio) ส่วนนี้เป็นการลงทุนที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว เน้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายประเภท (Asset Allocation) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด

การลงทุนสำหรับ Core Portfolio ควรมีสัดส่วนเงินลงทุนอยู่ที่ 60 – 90% ของพอร์ต ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคน และเหมาะกับการบริหารการลงทุนแบบเชิงรับหรือ Passive ที่มีการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตไม่บ่อย ทำให้มีต้นทุนการบริหารที่ต่ำ และได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดในระยะยาว

การลงทุนส่วนเสริม (Satellite Portfolio) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนส่วนหลัก เน้นการลงทุนระยะสั้นหรือกลาง โดยอาจเลือกลงทุนในตัวหุ้น หรืออุตสาหกรรม หรือธีมการลงทุนที่น่าจะได้รับผลดีจากสภาวะตลาดในช่วงเวลานั้นๆ ใช้การจับจังหวะการซื้อขาย (Market Timing) ควรเป็นการบริหารการลงทุนแบบ Active เนื่องจากคาดหวังผลตอบที่สูงกว่าตลาด และมีความเสี่ยงสูงกว่า Core Portfolio

สำหรับการลงทุนส่วนเสริมนี้ ควรมีสัดส่วนเงินลงทุนเท่ากับส่วนที่เหลือจาก Core Portfolio ในกรณีที่การลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย พอร์ตการลงทุนโดยรวมก็จะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจาก Satellite Portfolio มีสัดส่วนการลงทุนที่ไม่สูงมาก

สิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนคือการติดตาม และปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) เพื่อให้ความเสี่ยงยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคน ทั้งสัดส่วนระหว่าง Core กับ Satellite Portfolio และสัดส่วนภายใน Core Portfolio เอง กรณีที่ Core Portfolio เลือกลงทุนในกองทุนแบบ Asset Allocation อยู่แล้ว ก็จะมีผู้จัดการกองทุนช่วยทำหน้าที่ในการปรับสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ระดับที่เหมาะสมตามความเสี่ยงของกองทุนที่กำหนดไว้แต่แรก ซึ่งการมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยบริหารก็จะทำให้การลงทุนง่ายขึ้นอีกด้วย


จะเห็นได้ว่าการลงทุนโดยใช้กลยุทธ์ Core-satellite Portfolio เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ประโยชน์ทั้งจากการลงทุนแบบ Passive และ Active ที่สามารถลงทุนโดยเน้นการเติบโตไปพร้อมกับตลาดในระยะยาว ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรเพิ่มในระยะสั้น ซึ่งทำให้การลงทุนโดยรวมมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนแบบเชิงรับอย่างเดียว 

เห็นแบบนี้แล้ว แทนที่จะฝากเงินทั้งหมดไว้ในบัญชีเดียวแบบเดิม จะดีกว่าไหมถ้าคุณสามารถออกแบบโอกาสออมเงินให้งอกเงย โดยการกระจายเงินไปเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง และยังได้ความสะดวกคล่องตัวในการทำธุรกรรมซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

Suggested
07 Jun 2021
รู้ทัน “มิจฉาชีพออนไลน์” สังเกตอย่างไรไม่ให้เสียเงินจนหมดตัว!!
Money
19 Apr 2021
Cashless Society มากกว่าแค่ลดการสัมผัส ตัวช่วยในการบริหารเงิน
Money
16 Aug 2021
คุณแม่ยุคใหม่ วางแผนการเงินอย่างไรให้รอบด้าน
Money
15 Jun 2021
รู้หรือไม่ “เงินฝากออมทรัพย์” แบบเดิมๆ อาจมีค่าเสียโอกาสมากกว่าที่คุณคิด!!
Money