Money

คิดจะรีไฟแนนซ์บ้าน
ควรเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
Post by | Admin

content-homeRe_628x443

การรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านสามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินหลายประการ เช่น ช่วยลดภาระที่ต้องผ่อนชำระรายเดือน ปิดหนี้บ้านให้จบได้เร็วขึ้น หรือการได้เงินก้อนอเนกประสงค์เพื่อใช้จ่ายในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องรู้ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าคุณได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้เพียงพอแล้วหรือยัง และคุ้มหรือไม่กับบางข้อเสนอที่คุณจะได้รับจากการรีไฟแนนซ์ เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมที่อาจใกล้เคียงกับยอดเงินกู้เดิมของคุณ

หลายคนคงมีคำถามในใจว่า จริงๆ แล้ว หากจะรีไฟแนนซ์บ้าน ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะต้องเตรียมไว้เท่าไหร่กันแน่ ในบทความนี้ KKP ขอสรุปการค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจจะช่วยให้คุณเตรียมแผนการได้ และนั่นจะเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านของคุณ

1. ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 3,210 บาท

2. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่

3. ค่าจดทะเบียนจำนองกับกรมที่ดิน 0.01% ของวงเงินกู้ใหม่ ค่าจดทะเบียนจำนองปกติคือ 1% แต่ปัจจุบันมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดลดหย่อนค่าจดทะเบียนจำนองเหลือ 0.01% สำหรับลูกค้าที่จดทะเบียนจำนองภายในปี 2565 และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท

4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (Prepayment Fee)


ตัวอย่างง่ายๆ ในการคำนวณค่าใช้จ่าย เช่น บ้านราคา 2,000,000 บาท จะต้องจ่ายค่าประเมินราคาหลักประกัน 3,210 บาท + ค่าอากรแสตมป์ 1,000 บาท + ค่าจดทะเบียนจำนอง 200 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 4,410 บาท ซึ่งตัวอย่างข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ที่เราจะสามารถมาคำนวณไว้ล่วงหน้าได้

 

หากคุณกำลังวางแผนเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน เราขอแนะนำสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP HOME LOAN REFINANCE) ที่ยืดหยุ่นเรื่องให้ดอกเบี้ยต่ำ วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาท อีกทั้งยังสามารถกู้วงเงินอเนกประสงค์เพิ่มเติมได้อีก ผ่อนสบายนานสูงสุด 30 ปี สมัครวันนี้ ฟรีค่าประเมินราคาหลักประกัน เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

ที่มา:
http://www.ratchakitcha.soc.go.th

https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press
https://www.refinn.com/blog

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

แนะนำจากบทความ
08 ก.ย. 2564
เปรียบเทียบหมัดต่อหมัด refinance กับ retention แบบไหนดีกว่ากัน
Money
26 มี.ค. 2562
การรีไฟแนนซ์บ้าน ตัวช่วยสำคัญในการลดดอกเบี้ยบ้านในปัจจุบัน
Money
24 มิ.ย. 2562
ขั้นตอนรีไฟแนนซ์บ้านเข้าใจง่าย แค่ 5 นาทีก็รู้เรื่อง
Money