Investment KnowlEDGE
นับ 1 ให้ถึงล้าน : พลังของการลงทุนแบบทบต้น
- 28 มิ.ย. 65
- 2,280

จากบทความก่อนหน้า ชายคนหนึ่งได้รับเงินมรดก 1 ล้านบาท และอยากจะนำเงิน 1 ล้านบาทนั้น มาลงทุนตามเป้าหมายการเงินที่วางไว้ โดยในครั้งที่แล้วชายคนนี้ได้วางแผนส่วนของ Wealth Creation คือ วางแผนเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน และ Wealth Protection คือ วางแผนประกันภัย ไปแล้ว ใน Ep. นี้ผมจะมาชวนคุยต่อว่าในส่วนของ Wealth Accumulation ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตามเป้าหมายที่วางไว้ เขาจะวางแผนการลงทุนอย่างไร มาติดตามกันครับ
จากเงิน 1 ล้านบาท เขาได้จัดสรรไปวางแผนยัง 2 ส่วนข้างต้น จำนวน 600,000 บาท และเหลือเงิน จำนวน 400,000 บาท เพื่อลงทุนในส่วน Wealth Accumulation โดยแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 100,000 บาทและ 300,000 บาท ลงทุนใน 2 เป้าหมาย ดังนี้
1. เก็บเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาบุตร (ป.ตรี) จำนวนเงินที่ต้องใช้ 400,000 บาท ในอีก 12 ปีข้างหน้า (ใช้เงินลงทุนตั้งต้น 100,000 บาท)
2. เก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ จำนวนเงินที่ต้องใช้ 10,000,000 บาท ในอีก 25 ปีข้างหน้า (ใช้เงินลงทุนตั้งต้น 300,000 บาท)
เรามาลองคำนวณวางแผนการเงินที่เป้าหมายแรกไปพร้อมกันครับ ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น Financial Calculator เข้ามาช่วยคำนวณได้ไม่ยาก (สามารถดาวน์โหลด Application ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้ครับ)



จะเห็นว่าเช่นเดียวกับเป้าหมายแรก เพียงคุณเพิ่มเงินเก็บออมระหว่างทาง ในที่นี้เริ่มต้นออมที่ 10% ของเงินเดือนทุกเดือน และออมเพิ่มตามฐานเงินเดือนที่ปรับขึ้น คุณก็จะมีเงินออมมากขึ้นกว่าการใช้เงินตั้งต้นเพียงก้อนเดียวมาก แม้จำนวนเงินที่ออมได้จะยังไม่เท่ากับ 10,000,000 บาท ตามเป้าหมาย แต่อย่าลืมนะครับว่า จริงๆ แล้วแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณของมนุษย์เงินเดือนไม่ได้มีเพียงแหล่งเดียว ซึ่งหากมีการวางแผนและคำนวณตัวเลขออกมา ผมเชื่อว่าเป้าหมายการอยากมีเงินเก็บ 10,000,000 บาทไว้ใช้หลังเกษียณ ไม่ได้ไกลเกินเอื้อมครับ และหากมีการวางแผนที่ดี คุณเองอาจจะเก็บเงินได้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ก็ได้
ตัวอย่างแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณที่สำคัญ เช่น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ซึ่งมีทั้งส่วนเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้าง, เงินจากการลงทุนในกองทุนรวม SSF/RMF, เงินจากประกันบำนาญ และอื่นๆ (ในรายละเอียดผมจะมาพูดคุยอีกครั้งในซีรีส์การเกษียณ อย่าลืมติดตามนะครับ!!)
ครั้งหน้า ผมจะมาชวนคุยต่อว่า เมื่อคุณได้ลองคำนวณตัวเลขเงินลงทุนที่คาดว่าจะได้รับแล้ว ยังมีเครื่องมือทางการเงินหรือกลยุทธ์การลงทุนอะไรบ้าง? ที่จะทำให้แผนการลงทุนที่คุณวางไว้สำเร็จตามเป้าหมายได้ อย่าลืมติดตามครับ!! และวันนี้ To do list ที่ผมอยากจะฝากไว้ อยากให้คุณลองคำนวณตัวเลขเงินเก็บออมเพื่อการลงทุนของคุณ ว่าใกล้เคียงหรือถึงตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างไรบ้างครับ
To do list :
1. ทดลองใช้ Financial Calculator เพื่อคำนวณเงินเก็บออมและการลงทุนตามเป้าหมาย
2. เปรียบเทียบการเก็บออมระหว่าง เงินออมตั้งต้นก้อนเดียว กับ การออมเงินเพิ่มระหว่างทาง
3. ศึกษาทำความเข้าใจหลักการออมเงินเพื่อลงทุนเพิ่ม ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นในทุกปี (คลิก ตาราง Excel)