Money
เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร
Post by | Admin


Key Takeaways:
- KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย (1) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากการรับเงินโอนจากภาครัฐและคนในครัวเรือน มิใช่จากผลิตภาพของแรงงานที่มากขึ้น (2) ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลกและยังคงเพิ่มขึ้นเร็ว (3) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จากตัวเลขทางการอาจต่ำกว่าความเป็นจริงจากข้อจำกัดด้านข้อมูล (4) ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยอัตราเติบโตลดลงเรื่อย ๆ พบว่ารายได้เติบโตเฉพาะในกลุ่มคนรวย
- 4 เรื่องสำคัญที่อธิบายความเหลื่อมล้ำในอดีตและความท้าทายในอนาคตของไทย คือ (1) ประชากรถึง 1 ใน 3 ทำงานในภาคเกษตรและเจอปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ (2) ประชาชนได้รับโอกาสอย่างไม่เท่าเทียมตั้งแต่การศึกษา การทำงาน การทำธุรกิจ และสวัสดิการพื้นฐาน (3) โควิด-19 จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลงเพราะกระทบกับกลุ่มคนเปราะบาง (4) ปัญหาสังคมสูงวัยจะมีความท้าทายเพิ่มขึ้นในครัวเรือนที่ยังมีสถานะทางการเงินไม่พร้อม
- สถาบันการเมืองไม่เชื่อมโยงกับความรับผิด (Accountability) เป็นปัจจัยที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีอำนาจทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียมและนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ฉุดรั้งการเติบโตระยะยาว
- KKP Research ประเมินว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำสามารถแก้ไขได้และหัวใจหลักอยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) กลไกทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม (2) กลไกทางภาษีในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง (3) กลไกสวัสดิการของรัฐ (4) กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง (5) กลไกกระจายอำนาจการเมืองและการคลัง