Economic
ทำไมเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่ตลาดคาดและทำให้ “เศรษฐกิจไทยซึมยาว” ? (ตอนที่ 1)
- 15 มิ.ย. 65
- 3,536


Key Takeaways:
- KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทรประเมินว่า มีโอกาสสูงที่เงินเฟ้อไทยและโลกจะค้างอยู่ในระดับที่สูงกว่าในทศวรรษก่อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยปรับประมาณการตัวเลขเงินเฟ้อปี 2022 เป็น 6.6% และปี 2023 เป็น 3.1% ในขณะที่คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 3 ครั้งในปีนี้ และขึ้นอีก 4 ครั้งในปี 2023
- เงินเฟ้ออาจไม่จบลงเร็วอย่างที่คาด สถานการณ์ปัจจุบันคล้ายคลึงกับช่วงภาวะ Stagflation ปี 1972 – 1983 จากปัจจัยสำคัญ คือ 1) นโยบายการเงินอยู่ในภาวะผ่อนคลายและมีความเสี่ยง Behind the curve 2) การส่งผ่านเงินเฟ้อระหว่างสินค้ายังไม่สิ้นสุด 3) ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ทั้งราคาสินค้ากลุ่มอื่นและเงินฟ้อคาดการณ์ปรับตัวสูงขึ้น
- KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจกำลังจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation ก่อนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยช่วงปลายปี 2023 ถึงปี 2024 โดยในอดีตเกือบทุกครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐ ฯปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นแล้ว มักจะตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยเสมอ ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบผ่านภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว
- ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เคยกดดันให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกำลังเปลี่ยนทิศทาง คือ 1) โลกอาจกำลังผ่านจุดสูงสุดของยุคโลกาภิวัฒน์ และต้นทุนการผลิตกำลังปรับตัวสูงขึ้น 2) แนวโน้มที่บริษัทจะกลับมามีอำนาจตลาดมากขึ้น 3) การเพิ่มขึ้นของ Dependency ratio จะกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนทิศทางจะเพิ่มความท้าทายกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต จากอัตราดอกเบี้ยที่ต้องปรับขึ้นในภาวะที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง