Money

The Post-COVID World: เศรษฐกิจไทยอยู่ตรงไหนเมื่อโลกไม่เหมือนเดิม

Post by | Admin

โลกหลัง-COVID-19-หุ้นไทยจะกลับไป-1700-ได้หรือไม่_628x443
COVID-19-กับเทรนด์เศรษฐกิจโลกใหม่-ตลาดหุ้นไทยอาจไม่สามารถกลับไปในระดับเดิม_Info


Key takeaways:

  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร เผย หลังวิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้งในอดีต การเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่เคยกลับไปโตได้ในระดับเดิม สาเหตุเป็นเพราะวิกฤตแต่ละครั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอดีตไม่ทำงานได้เหมือนเก่า
  • หลังวิกฤตโควิด เศรษฐกิจและการค้าโลกจะไม่กลับไปเป็นแบบเก่า ทั้งจากความแพร่หลายของธุรกิจแบบ platform การใช้ automation แทนแรงงานคน รูปแบบของโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนไป การย้ายฐานการผลิตกลับประเทศต้นทาง และการใช้นโยบายการเงินรูปแบบใหม่ของธนาคารกลางอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
  • เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบจากเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลกและต้องปรับตัวให้ทันใน 3 เรื่องหลัก (1) การปฏิรูปพัฒนากฎระเบียบ ส่งเสริมการแข่งขัน และพัฒนาแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบใหม่ ๆ (2) การกำหนดแนวทางปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้พึ่งพาการเติบโตจากภายใน (3) การทบทวนบทบาทนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างของประเทศ
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตน้ำแล้งที่ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2019 และมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในปี 2020 คำถามสำคัญคือ วิกฤตในครั้งนี้เกิดจากอะไร มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร  บทวิเคราะห์ของ KKP Research จะตอบคำถามเหล่านี้

วิกฤตน้ำแล้งปีนี้รุนแรงแค่ไหน?

สัญญาณภัยแล้งในปีนี้ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง มีสาเหตุหลักจากปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน (ภัยแล้ง) ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 ส่งผลให้ในปีถัดมาเกิดฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนนาน 2 เดือน (มิ.ย.–ก.ค. 2019) ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 10% และปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อนในปี 2019 ไม่ว่าจะเป็น “วิภา” "โพดุล" และ "คาจิกิ" ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และบางพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม แต่ฝนที่ตกส่วนใหญ่ตกในพื้นที่ใต้เขื่อนจึงไม่ได้ช่วยเติมน้ำในเขื่อนเท่าใดนัก และเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง (เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์) จึงทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ได้ หรือ “น้ำต้นทุน” ต่ำกว่าความต้องการใช้จริง

จากข้อมูลของคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ณ วันที่ 20 ก.พ. 2020 พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) อยู่ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่าภัยแล้งปี 2015-16 (รูปที่ 1) และหากพิจารณาเป็นรายภูมิภาคพบว่า ภาคกลางน่าเป็นกังวลมากที่สุด เนื่องจากระดับน้ำของทั้ง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนกระเสียว และเขื่อนทับเสลา อยู่ในระดับต่ำที่ 19% – 22% ของความจุสูงสุดของเขื่อน ซึ่งต่ำกว่าทั้งค่าเฉลี่ยในอดีตและระดับน้ำในวันเดียวกันเมื่อปี 2016 หลายเขื่อนในภาคเหนือประสบกับปัญหาน้ำน้อยด้วยเช่นกัน มีเพียงภาคตะวันตกที่สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี (รูปที่ 2)

ระดับน้ำต้นทุนที่ต่ำต่อเนื่องมาจากปีก่อน และปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์น้อยและเริ่มแห้งขอด จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ลากยาวไปจนถึงเดือน มิ.ย. เทียบเคียงได้กับวิกฤตภัยแล้งในปี 2016 แต่ปัจจัยที่อาจทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ย่ำแย่ไปกว่าปี 2016 คือ ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้จำเป็นต้องระบายน้ำในเขื่อนเพื่อใช้เจือจางและผลักดันน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามา ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่จะได้รับการจัดสรรสำหรับเกษตรกรรมน้อยลงจนอาจเข้าขั้นวิกฤต นอกจากนี้ หากในช่วงครึ่งปีหลังปริมาณฝนยังคงต่ำกว่าค่าปกติ อาจยิ่งทำให้สถานการณ์ในปี 2020 รุนแรงกว่าภัยแล้งที่เคยเกิดในปี 2016

แนะนำจากบทความ
04 พ.ย. 2563
เศรษฐกิจไทย กลับไม่ได้ไปไม่ถึง หากไม่พึ่งเทคโนโลยี
Economic
16 ก.ค. 2563
ทำไมต่างชาติขายหุ้นไทย (ไม่หยุด)
Economic
08 ก.ย. 2563
ทศวรรษถัดไปของไทย ธุรกิจโตอย่างไรเมื่อคนไทยกว่า 40% เข้าสู่วัยเกษียณ
Economic