Money

Investment Solutions

ทางออกของการลงทุนแนวใหม่

Post by | Admin

ดร. จอน วงศ์สวรรค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทีม Investment Solutions

ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

พี่จอน_repromote_560x395

ทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Quant และนักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของ Track Record อันดับต้นๆ ของไทย ผู้มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ผ่านการทำวิจัย และสนามการทำงานกับองค์กรระดับโลกมาแล้ว

HIGHLIGHTS

  • เราอยู่ในช่วงที่ตลาดกำลังผลัดเปลี่ยนเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งเป็นจังหวะที่ตลาดถูกครอบงำโดยนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในปัจจุบันจึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งประสบการณ์การลงทุนที่ครอบคลุมในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ ความเข้าใจในภาพเศรษฐกิจมหภาค และการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางที่สำคัญๆ รวมทั้งความสามารถในการตีความข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีผลต่อการลงทุน ในช่วงเวลานี้เองที่เราต้องการคนที่เข้าใจวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐฯ คนที่ผ่านการรู้ เห็น และลงมือ รวมถึงผ่านการทำงานบนเวทีโลก มาช่วยมอง Solution ที่ถูกที่ถูกเวลาให้กับลูกค้ากลุ่ม Wealth มาช่วยบริหารและแนะนำการลงทุนให้ลูกค้าแต่ละราย เพื่อมอบ Investment Solutions หรือทางออกของการลงทุนท่ามกลางภาวะการตัดสินใจที่นับว่ายากสำหรับนักลงทุนในเวลานี้
  • ด้วยประสบการณ์การบริหารธุรกิจ Quantitative Investment มาเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ประกอบกับปัจจุบันมีกองทุนและเครื่องมือทางการเงินทั้งในและต่างประเทศหลากหลายชนิดที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ ซึ่งเพิ่มความยากในการตัดสินใจลงทุนสำหรับลูกค้าบุคคลแต่ละราย ทาง Phatra Wealth Management จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ในฝ่ายลูกค้าบุคคลที่ชื่อว่า Investment Solutions โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยลูกค้าบริหารการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (Solution-based Service) ซึ่งได้มีการรวมองค์ความรู้ทั้งในด้านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการลงทุนแบบเชิงปริมาณ รวมถึงบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาไว้ในที่เดียว เพื่อทำการเลือกเครื่องมือทางการเงินไปจนถึงการจัดพอร์ตที่เหมาะสมให้ลูกค้าแต่ละราย โดยพิจารณาทั้งในด้านผลตอบแทน ความเสี่ยง และข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งในต่างประเทศหน่วยงานประเภทนี้เป็นหน่วยงานหลักที่มีความสำคัญมากในการให้บริการลูกค้าในธุรกิจ Wealth Management
  • ความกังวลว่าธนาคารกลางประเทศหลักๆ จะลดการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน อีกทั้งยังมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ามามีผลกับตลาดการเงิน ตัวอย่างที่สำคัญ คือราคาสินทรัพย์ตราสารทุน และตราสารหนี้ที่มีการขยับไปในทิศทางเดียวกันซึ่งในอดีตแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้มาจากสาเหตุที่นักลงทุนมีความกังวลว่าธนาคารกลางประเทศหลักๆ จะลดการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เราไม่สามารถใช้เพียงแค่ข้อมูลในอดีตมาทำการวิเคราะห์แล้วหากลยุทธ์การลงทุน แต่ต้องมีการคำนึงถึงภาพใหญ่โดยรวม
  • เราจะพบว่าถ้าเราสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ จะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวดีขึ้นมาก สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือศาสตร์ในการเข้าใจและการควบคุมความเสี่ยง ซึ่งได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างสูงมากในด้านการเงินและมีความแม่นยำสูงกว่าการคาดการณ์ผลตอบแทน ดังนั้นผมคิดว่านักลงทุนจะสามารถบริหารพอร์ตได้ดีขึ้น หากมีการให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงที่มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย
  • ถ้าเราใช้โมเดลจากต่างประเทศตรงๆ ก็จะไม่เข้ากับบริบทของตลาดเมืองไทย สิ่งพวกนี้คือสิ่งที่เราต้องมีการปรับโดยอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจตลาดอย่างแท้จริง มาช่วยให้โมเดลไม่เป็นเพียงแค่การวิเคราะห์ตัวเลขอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ Quantitative Model ของภัทรต่างจากที่อื่นซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ และผมเชื่อว่าโมเดลของเราถูกสร้างมาอย่างดีที่สุด และเหมาะสมกับตลาดการลงทุนในบ้านเรา

ทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Quantitative และนักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของ Track Record อันดับต้นๆ ของไทย ผู้มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ผ่านการทำวิจัยและสนามการทำงานกับองค์กรระดับโลกมาแล้ว

เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER_560x390

ดร. จอน จบปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยทุน Japan-IMF ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระดับสากล และเป็นตัวแทนคนไทยเพียง 1 ใน 2 คนที่ได้รับคัดเลือก มีผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตลาดการเงินโลกและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ผ่านการศึกษา Volatility ที่เน้นการใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คือ Professor Tim Bollerslev ซึ่งเป็นผู้คิดค้น Volatility Model แบบจำลองคลาสสิคระดับโลกที่เรียกกันว่า GARCH Model  โดยปริญญานิพนธ์ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการด้านการเงินระดับโลก (Review of Financial Studies) ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่มีผลงานวิจัยเดี่ยว

 

หลังจากเรียนจบ ดร. จอน ได้รับเข้าทำงานที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยเป็นคนไทยคนแรก และคนเดียวที่เป็น Economist ที่นั่น ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ตลาดการเงินระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสหรัฐ  ได้ศึกษาและนำเสนอนโยบายต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee หรือ ชื่อย่อ FOMC) นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสนำเสนอการวิเคราะห์ทางด้านการเงินและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อสภาผู้ว่าการ (Board of Governors) รวมถึง Chairman Alan Greenspan และ Chairman Ben Bernanke ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างพิเศษ และไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสแบบนี้

 

ดร. จอน ได้ทำงานที่นี่เป็นเวลา 5 ปีก่อนจะย้ายไปหาประสบการณ์การทำงานเพิ่มเติมที่ BGI (Barclays Global Investors) ซึ่งในขณะนั้นเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นที่แรกที่ทำ Quantitative Investment โดยรับผิดชอบการคิดค้นกลยุทธ์การลงทุนเฮดจ์ฟันจ์ (Hedge Fund) สำหรับการลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก (Global Emerging Markets) และตลาดสหรัฐ รวมทั้งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยน โดยทำงานอยู่ประมาณ 3 ปี ก่อนจะย้ายกลับมาเมืองไทย

 

อีกผลงานที่โดดเด่นของ ดร. จอน คืองานวิจัยทางด้านวิชาการกว่า 10 บทความที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลกทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน โดยผลงานที่โดดเด่นที่สุดคืองานวิจัยที่ใช้เวลาในการทุ่มเทกว่าหกปีก่อนจะได้รับการตีพิมพ์ลงใน American Economic Review วารสารที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งของโลกทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ที่นักวิชาการต่างก็ให้การยอมรับ นับเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่มีบทความตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการดังกล่าว

 

ดร. จอน จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนสาย Quantitative Investment ซึ่งชำนาญการลงทุนผ่านกระบวนการวิจัยโดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลที่หาตัวจับได้ยากที่สุดคนหนึ่งของไทย

ทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Quantitative และนักเศรษฐศาสตร์ เจ้าของ Track Record อันดับต้นๆ ของไทย ผู้มีประสบการณ์ในต่างประเทศ ผ่านการทำวิจัยและสนามการทำงานกับองค์กรระดับโลกมาแล้ว

 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2 

ดร. จอน จบปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยทุน Japan-IMF ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระดับสากล และเป็นตัวแทนคนไทยเพียง 1 ใน 2 คนที่ได้รับคัดเลือก มีผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตลาดการเงินโลกและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ผ่านการศึกษา Volatility ที่เน้นการใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คือ Professor Tim Bollerslev ซึ่งเป็นผู้คิดค้น Volatility Model แบบจำลองคลาสสิคระดับโลกที่เรียกกันว่า GARCH Model โดยปริญญานิพนธ์ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการด้านการเงินระดับโลก (Review of Financial Studies) ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่มีผลงานวิจัยเดี่ยว

 

หลังจากเรียนจบ ดร. จอน ได้รับเข้าทำงานที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี โดยเป็นคนไทยคนแรก และคนเดียวที่เป็น Economist ที่นั่น ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ตลาดการเงินระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสหรัฐ ได้ศึกษาและนำเสนอนโยบายต่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee หรือ ชื่อย่อ FOMC) นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสนำเสนอการวิเคราะห์ทางด้านการเงินและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อสภาผู้ว่าการ (Board of Governors) รวมถึง Chairman Alan Greenspan และ Chairman Ben Bernanke ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างพิเศษ และไม่ใช่ทุกคนจะได้รับโอกาสแบบนี้

 

ดร. จอน ได้ทำงานที่นี่เป็นเวลา 5 ปีก่อนจะย้ายไปหาประสบการณ์การทำงานเพิ่มเติมที่ BGI (Barclays Global Investors) ซึ่งในขณะนั้นเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นที่แรกที่ทำ Quantitative Investment โดยรับผิดชอบการคิดค้นกลยุทธ์การลงทุนเฮดจ์ฟันจ์ (Hedge Fund) สำหรับการลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก (Global Emerging Markets) และตลาดสหรัฐ รวมทั้งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยน โดยทำงานอยู่ประมาณ 3 ปี ก่อนจะย้ายกลับมาเมืองไทย

 

อีกผลงานที่โดดเด่นของ ดร. จอน คืองานวิจัยทางด้านวิชาการกว่า 10 บทความที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลกทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน โดยผลงานที่โดดเด่นที่สุดคืองานวิจัยที่ใช้เวลาในการทุ่มเทกว่าหกปีก่อนจะได้รับการตีพิมพ์ลงใน American Economic Review วารสารที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งของโลกทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ที่นักวิชาการต่างก็ให้การยอมรับ นับเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่มีบทความตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการดังกล่าว


ดร. จอน จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนสาย Quantitative Investment ซึ่งชำนาญการลงทุนผ่านกระบวนการวิจัยโดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลที่หาตัวจับได้ยากที่สุดคนหนึ่งของไทย

 

จากนี้ไปจะเข้าสู่ช่วงบทสนทนากับดร. จอนถึงที่มาที่ไป การหาคำตอบทางความคิด ประสบการณ์ที่สำคัญหลายด้านในต่างประเทศทั้ง บริหารกองทุนระดับโลก วิเคราะห์เศรษฐกิจและการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐ (US Federal Reserve หรือชื่อย่อ Fed) รวมทั้งประสบการณ์การวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ที่หาตัวจับได้ยากที่สุดคนหนึ่งของไทย

 

ความเป็นมาที่ทำให้ได้มาทำงานในสายการเงิน

 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER06 2  

ด้วยความเป็นคนชอบคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ชอบทำอะไรที่ท้าทาย และที่สำคัญต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รอบตัว อย่างการทำงานวิจัยก็เป็นการแก้ปัญหาแบบหนึ่ง เหมือนมีคำถามที่เราอยากเข้าใจว่ามันคืออะไร ทำวิจัยแล้วทำให้ได้คำตอบ หรือเข้าใจมากขึ้น สำหรับการลงทุนก็เหมือนกัน โจทย์ที่สำคัญคือต้องการเข้าใจผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆและนำมาสร้างพอร์ตการลงทุน ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม

 

สิ่งที่ท้าทายของการลงทุนก็คือ การมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งที่สามารถคาดเดาได้และไม่ได้ ข้อดีของการลงทุนก็คือเราสามารถดูผลได้ทุกวัน แต่การทำความเข้าใจว่าเราคิดครบและถูกต้องหรือไม่นั้นอาจทำไม่ได้ง่าย เนื่องจากอาจมีปัจจัยต่างๆ แทรกซ้อนเข้ามาได้ตลอดเวลา รวมทั้งความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วย เสน่ห์ที่สำคัญของการลงทุนคือการผสมผสานระหว่างการคิดแก้ปัญหาในสิ่งที่ท้าทายกับโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าเป็นนักวิจัยอย่างเดียวทำวิจัยออกมาตีพิมพ์เสร็จก็จบไปเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ทำมันผิดหรือถูกอย่างไรในอนาคต ข้อดีอีกอันหนึ่งที่สำคัญสำหรับการลงทุนคือสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อบริหารเงินตัวเองได้

 

เข้ามาทำงานที่ภัทรได้อย่างไร

ความตั้งใจแรกในการเรียนปริญญาเอก คืออยากกลับมาเป็นอาจารย์ที่เมืองไทย แต่พอใกล้ๆ จะกลับมาได้ลองคิดดูอีกครั้ง แล้วรู้สึกว่ามันไม่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากผมมองหาความตื่นเต้นและท้าทาย จึงตัดสินใจว่าต้องหาประสบการณ์ในบริษัทเอกชนที่สหรัฐดูก่อนเพื่อจะได้มีทางเลือกเพิ่มให้กับอนาคตของเรา พอไปทำที่ BGI (Barclays Global Investors) ก็รู้สึกชอบและสนุกมาก ทำให้สนใจงานทางภาคการเงินเอกชน ก่อนผมจะย้ายกลับมาเมืองไทยก็ได้บินกลับมาหางานอยู่สองครั้ง ได้ติดต่อเพื่อคุยงานกับองค์กรต่างๆ  และโชคดีที่ได้มีโอกาสคุยกับพี่เตา (คุณบรรยง พงษ์พานิช) ที่ภัทร ผมก็ได้มาสัมภาษณ์งานในตำแหน่งต่างๆ ที่ภัทร และพี่ๆ ถามผมว่าอยากทำอะไร ผมเลยบอกว่าสนใจอยากมาสร้าง Quantitative Investment ที่เมืองไทย ก็เลยได้เสนอแผนธุรกิจ ทางภัทรเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่สนใจและให้โอกาสผมในการสร้างธุรกิจนี้ ผมเลยได้เข้ามาร่วมงานกับภัทรและสร้างธุรกิจใหม่โดยเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่จ้างคน จัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ และข้อมูลต่างๆ โดยเข้ามาอยู่ในส่วนงานบริหารเงินลงทุนของบริษัท (Principal Investment) รวมทั้งได้มีการสร้างทีมที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ซึ่งมีการใช้ Big Data และ Machine Learning และการสร้างแบบจำลองการลงทุนต่างๆ

 

สิ่งที่กำลังโฟกัสอยู่ในขณะนี้

 

เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2

ด้วยประสบการณ์การบริหารธุรกิจ Quantitative Investment มาเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ประกอบกับปัจจุบันมีกองทุนและเครื่องมือทางการเงินทั้งในและต่างประเทศหลากหลายชนิดที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ ซึ่งเพิ่มความยากในการตัดสินใจลงทุนสำหรับลูกค้าบุคคลแต่ละราย ทาง Phatra Wealth Management จึงได้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ในฝ่ายลูกค้าบุคคลที่ชื่อว่า Investment Solutions โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยลูกค้าบริหารการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (Solution-based Service) ซึ่งได้มีการรวมองค์ความรู้ในด้านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการลงทุนแบบเชิงปริมาณ รวมถึงบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาไว้ในที่เดียว เพื่อทำการเลือกเครื่องมือทางการเงินไปจนถึงการจัดพอร์ตที่เหมาะสมให้ลูกค้าในแต่ละราย โดยพิจารณาทั้งในด้านผลตอบแทน ความเสี่ยง และข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งในต่างประเทศหน่วยงานประเภทนี้เป็นหน่วยงานหลักที่มีความสำคัญมากในการให้บริการลูกค้าในธุรกิจ Wealth Management

จากที่เรากำลังอยู่ในช่วงตอนปลายของวัฎจักรเศรษฐกิจเดิมและตลาดกำลังผลัดเปลี่ยนเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจใหม่ เป็นจังหวะที่ตลาดถูกครอบงำโดยนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในปัจจุบันจึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งประสบการณ์การลงทุนที่ครอบคลุมในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ ความเข้าใจในภาพเศรษฐกิจมหภาคและการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางที่สำคัญๆ รวมทั้งความสามารถในการตีความข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีผลต่อการลงทุน ในช่วงเวลานี้เองที่เราต้องการคนที่เข้าใจวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐฯ คนที่ผ่านการรู้ เห็น และลงมือ รวมถึงผ่านการทำงานบนเวทีโลก มาช่วยมอง Solution ที่ถูกที่ถูกเวลาให้กับลูกค้ากลุ่ม Wealth มาช่วยบริหารและแนะนำการลงทุนให้ลูกค้าแต่ละราย เพื่อมอบ Investment Solutions หรือทางออกของการลงทุนท่ามกลางภาวะการตัดสินใจที่นับว่ายากสำหรับนักลงทุนในเวลานี้

 

ในปีนี้โอกาสในการลงทุนจะถูกขยายเพิ่มขึ้นจากการที่นักลงทุนสามารถลงทุนในต่างประเทศ และการมีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลายประเภทมากขึ้น เช่น การลงทุนในกองทุน Private Equity ซึ่งเป็นการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุนและสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากกลุ่มบริษัทที่ยังไม่ได้มีในตลาดหลักทรัพย์ได้ การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่อิงกับหลักทรัพย์ต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือแม้กระทั่งกองทุน ซึ่งทั้งหมดนี้หมายถึงทางเลือกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาบริการพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่ม Wealth ในปีนี้คือการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (Investment Solutions) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะแต่ละราย ซึ่งแนวคิดการให้บริการนี้จะเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก (Become more customer centric) คือมีการบริหารพอร์ต ติดตาม ผลประกอบการ และปรับพอร์ตให้ลูกค้าแต่ละราย โดยคำนึงถึงความคาดหวังในผลตอบแทน ความเสี่ยง และข้อจำกัดเฉพาะรายบุคคล

 

ความสนใจ และสไตล์การลงทุนส่วนตัว

 

 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER06 2  

ความสนใจส่วนตัวของผมมีค่อนข้างหลากหลาย ผมเป็นคนชอบเรียนรู้เรื่องต่างๆ เวลาเจออะไรก็จะตื่นเต้นและสนใจ เนื่องจากอยากเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งต่างๆ เพราะผมเชื่อว่าทุกอย่างมีเหตุผลของมันเพียงแต่บางครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดนตรี ศิลปะ การเล่นกีฬา พฤติกรรมของคน ไปจนถึงการลงทุน การลงทุนมีความน่าสนใจเพราะเป็นการผสมผสานระหว่าง วิทยาศาสตร์ และศิลปะเข้าด้วยกัน โดยมีความเป็นวิทยาศาสตร์ในแง่ของการวิเคราะห์ และวิจัยปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลกระทบต่อสินทรัพย์ ในขณะเดียวกันมีความเป็นศิลปะในแง่ของการต้องเข้าใจพฤติกรรม และอารมณ์ของมนุษย์ ในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น มนุษย์อาจมีความกลัวเป็นพิเศษในช่วงที่สินทรัพย์มีราคาลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้การขยับของราคาอาจจะมากเกินความจำเป็น

 

แนวทางการลงทุนส่วนตัวของผมนั้นไม่ได้ซับซ้อนอะไร ผมจะแยกเงินการลงทุนตามวัตถุประสงค์ เช่น ลงทุนเพื่อใช้ยามเกษียณ เพื่อการศึกษาของลูก หรือเพื่อหาโอกาสการลงทุนในระยะสั้น ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์ก็จะมีระยะเวลาในการลงทุน (Investment Horizon) ผลตอบแทนที่ต้องการ และความเสี่ยงที่สามารถรับได้แตกต่างกัน โดยส่วนตัวผมลงทุนแบบ Asset Allocation สำหรับการลงทุนที่มีระยะเวลาในการลงทุนนาน ผมเป็นคนเชื่อในเรื่องของการกระจายความเสี่ยง (Diversification) เป็นอย่างมาก เนื่องจากเราไม่สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ได้แน่ชัด ในทางการเงิน Diversification ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก โดยศาสตราจารย์ Harry Markowitz ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ได้พูดว่า Diversification อาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียอะไร (Free Lunch)

 

วิธีการมองการลงทุนของผมจะมอง 2 หลักใหญ่ๆ คือ 1. การคาดการณ์ผลตอบแทนและ 2. การเข้าใจและควบคุมความเสี่ยง สำหรับการคาดการณ์ผลตอบแทนสามารถคิดได้ดังนี้ 1. ทิศทาง (Theme/Trend) ในอนาคต และ 2. ความเหมาะสมราคาสินทรัพย์ การมองทิศทางต้องอาศัยความเข้าใจทางด้านเศรษฐศาสตร์ และการปรับเปลี่ยนของโครงสร้างเศรษฐกิจและธุรกิจ ส่วนการมองด้านราคาสินทรัพย์ต้องมีความเข้าใจในแง่ของการ กำหนดราคา (Pricing) การลงทุนที่ดีจึงเป็นการลงทุนตามทิศทาง และในราคาสินทรัพย์ที่ถูกซึ่งจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่สูงมาก

 

อีกส่วนที่สำคัญในการลงทุนคือการเข้าใจ และควบคุมความเสี่ยง โดยสิ่งที่สำคัญคือเราต้องเข้าใจว่าเรา Take Bet อะไร และมีความเสี่ยงแค่ไหน รวมทั้งเข้าใจความน่าจะเป็นที่จะกำไรหรือขาดทุน โดยเฉพาะโอกาสขาดทุนมากที่สุด  (Worst Case Scenario) ผมคิดว่าโดยทั่วไปเราให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเข้าใจและควบคุมความเสี่ยงไม่มากพอ ทั้งนี้อาจจะมาจากความรู้สึกว่าการควบคุมความเสี่ยงทำให้ได้ผลตอบแทนน้อยลง แต่จริงๆ แล้วเราจะพบว่าถ้าเราสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ จะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวดีขึ้นมาก สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือศาสตร์ในการเข้าใจและควบคุมความเสี่ยง ซึ่งได้มีการพัฒนาไปค่อนข้างสูงมากและมีความแม่นยำสูงกว่าการคาดการณ์ผลตอบแทน ดังนั้นผมคิดว่านักลงทุนจะสามารถบริหารพอร์ตได้ดีขึ้นหากมีการให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงที่มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย

 

ผมขอแสดงตัวอย่างความสำคัญของการลดความเสี่ยงหรืออาจหมายถึงการลดผลขาดทุนของผลตอบแทนของเรา รูปด้านล่างแสดงผลกำไรที่ต้องทำกลับมาจากการขาดทุนในแต่ละระดับ ตัวอย่างเช่น เวลาเราขาดทุน 1% เราต้องการผลตอบแทนประมาณ 1% เพื่อจะทำให้กลับมาเท่าทุน แต่เมื่อเราขาดทุนมากขึ้นเราจะต้องการผลกำไรที่สูงขึ้นมากๆ เพื่อจะทำให้กลับมาเท่าทุน เช่นถ้าเราขาดทุน 50% เราต้องการผลกำไรถึง 100% เพื่อจะทำให้เรากลับมาเท่าทุน ดังนั้นจากรูปข้างล่างคงจะพอเห็นภาพแล้วว่าถ้าเราสามารถลดผลขาดทุนได้จะทำให้เราไม่ต้องเหนื่อยมากในการหาผลกำไรเพื่อจะกลับมาเท่าทุน พูดง่ายๆ ก็คือ “ถ้าไม่เจ๊งเยอะ จะไม่เหนื่อยมากตอนขากลับ”

 

เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2

ถ้าสนใจเรื่องการลดความเสี่ยงแต่ยังไม่มีความรู้ เริ่มต้นอย่างไรดี

เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2
จริงๆ แล้วเราสามารถสร้างพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุนโดยทั่วไปได้ วันนี้ผมขอยกหนึ่งตัวอย่างคือกองทุน Phatra Smart MV (Phatra Smart Minimum Volatility Fund) ซึ่งหลักการง่ายๆ ก็คือเป็นการลงทุนในหุ้นไทยโดยที่ทำให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดภายใต้ข้อจำกัดการลงทุน โดยวิธีการสร้างพอร์ตและบริหารพอร์ตอิงตามหลัก Quantitative Investment ซึ่งเราจะใช้ Quantitative Model คาดการณ์ว่าในอนาคตทั้งพอร์ตจะมีความเสี่ยงเท่าไหร่ ซึ่งความเสี่ยงในที่นี้มีสองชิ้นคือความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัว กับความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นแต่ละคู่ โดยที่เราจะสร้างพอร์ตที่ทำให้ความเสี่ยงโดยรวมน้อยที่สุดภายใต้ข้อจำกัดการลงทุน ซึ่งการทำแบบนี้กับตลาดไทยก็ต้องมีการปรับเพื่อให้เหมาะสม เช่นหุ้นเมืองไทยบางตัวราคาไม่ค่อยขยับแต่ขยับทีเยอะ ถ้าใช้ตัวเลขในเชิงสถิติจะบอกว่าหุ้นตัวนี้ไม่ค่อยมีความเสี่ยงแต่ความจริงแล้วคือขยับทีขยับเยอะ เราก็จะพยายามคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ในการสร้างโมเดล ซึ่งถ้าเราใช้โมเดลจากต่างประเทศตรงๆ ก็จะไม่เข้ากับบริบทของตลาดเมืองไทย สิ่งพวกนี้คือสิ่งที่เราต้องปรับโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจตลาดอย่างแท้จริง มาช่วยให้โมเดลไม่เป็นเพียงแค่การวิเคราะห์ตัวเลขอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ Quantitative Model ของภัทรต่างจากที่อื่นซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ และผมเชื่อว่าโมเดลของเราถูกสร้างมาอย่างดีที่สุด และเหมาะสมกับตลาดการลงทุนในบ้านเรา เพราะเราเข้าใจว่ามันมีความแตกต่างซึ่งเราปรับจากประสบการณ์ของทีมงานที่สั่งสมมายาวนาน ปัจจุบันกองทุน Phatra Smart MV มีสองรูปแบบ คือกองทุนรวม และกองทุน LTF ซึ่งผลตอบแทนที่ผ่านมาค่อนข้างดีมากเมื่อเทียบกับกองทุนในตลาดไทย

นอกจากการคาดการณ์ผลตอบแทนและการควบคุมความเสี่ยงแล้ว การให้เวลาในการหาผลตอบแทนแบบทบต้น (Compound Interest) เป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนของผมเช่นเดียวกัน เนื่องจากการหาผลตอบแทนระดับสูงให้ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ นั้นมีความยาก แต่ถ้าให้เวลากับการลงทุน ถึงแม้ว่าผลตอบแทนต่อปีอาจจะไม่สูง เราก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงได้ เช่น จากเงินเริ่มต้น 10,000 บาท ถ้าเราได้ผลตอบแทนปีละ 5% (10%) ก็สามารถกลายเป็นประมาณ 26,533 (67,275) บาทได้ ภายในระยะเวลา 20 ปี โดยประโยชน์ของผลตอบแทนแบบทบต้นนั้น  Albert Einstein ได้เคยกล่าวไว้ว่าเสมือนเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่แปดของโลก

 

เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2

บทเรียนจากการลงทุน

บทเรียนที่สำคัญจากการลงทุนคือ การเข้าใจและให้ความสำคัญกับภาพใหญ่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การดำเนินนโยบายของรัฐ และธนาคารกลางประเทศต่างๆ รวมทั้งด้านการเมืองซึ่งจะมีผลต่อการลงทุน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราอยู่ในช่วงวัฎจักรเศรษฐกิจขยายตัว รวมทั้งยังมีการสนับสนุนจากนโยบายทางการเงินที่ผ่อนปรนจากธนาคารกลางประเทศหลักๆ เป็นผลให้สินทรัพย์เสี่ยงมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

 

อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้นสภาวะการลงทุนทำได้ยากมาก วิธีการลงทุนที่เคยใช้ได้ดีในอดีตมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ กล่าวคือเราอยู่ในช่วงตอนปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจเดิมและกำลังผลัดเปลี่ยนเข้าสู่วัฏจักรเศรษฐกิจใหม่ความกังวลว่าธนาคารกลางประเทศหลักๆ จะลดการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน อีกทั้งยังมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเข้ามามีผลกับตลาดการเงิน ตัวอย่างที่สำคัญ คือราคาสินทรัพย์ตราสารทุน และตราสารหนี้มีการขยับไปในทิศทางเดียวกันซึ่งในอดีตแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้มาจากสาเหตุที่นักลงทุนมีความกังวลว่าธนาคารกลางประเทศหลักๆ จะลดการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เราไม่สามารถใช้เพียงแค่ข้อมูลในอดีตมาทำการวิเคราะห์แล้วหากลยุทธ์การลงทุน แต่ต้องมีการคำนึงถึงภาพใหญ่โดยรวมด้วย

ผมเป็นรุ่นแรกที่ถูกส่งไปที่ชิคาโก้ ไปดูตลาดอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไปดูทั้งผู้ประกอบการ หรือบริษัทที่ทำ Hedge Fund ได้ไปเห็นลักษณะการซื้อขาย และการใช้ตราสารอนุพันธ์ ทำให้มีความประทับใจและเห็นว่าทิศทางของตลาดการเงินในเมืองไทยก็คงจะโตมาทางนี้ คือการที่ตราสารอนุพันธ์คงจะเข้ามามีบทบาทในตลาดการเงิน จึงมีความตั้งใจว่าจะกลับมาทำเรื่องเหล่านี้ในตลาดบ้านเรา - ผมทำอยู่ที่ฮ่องกง 3 ปี ได้เห็นว่าตลาด และเทคโนโลยีเมืองนอกเค้าไปไกลขนาดไหนแล้ว แต่สิ่งที่คาอยู่ในใจคือเราไม่ค่อยได้ทำเรื่องของอนุพันธ์เท่าไหร่จะเน้นเรื่องเทรดดิ้งเป็นหลัก

 
เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER03 2 

ประวัติการศึกษา ผมเรียนปริญญาตรี วิศวะโยธา เลือกเรียนวิศวะเพราะเลือกตามความถนัด และระหว่างที่เรียนก็มีความสนใจเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และได้เพิ่มทักษะคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งซึ่งก็ได้นำมาใช้งานการทำงานอยู่บ้าง

 

พอเรียนจบออกมาทำงานด้านวิศวะโยธาอยู่ 1 ปีก็ไปเรียนต่อ MBA ด้านการเงิน ช่วงนั้นสาขาการเงินค่อนข้างเฟื่องฟูบวกกับศาสตร์ทางด้านการเงินก็ยังมีพื้นฐานด้านการคำนวณที่เรามีความถนัดอยู่ด้วยระหว่างเรียนได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ซึ่งหลักการของมันก็ไปด้วยกันกับทางฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์ที่เราถนัด ทำให้เราเริ่มมี Passion เกี่ยวกับเรื่องตราสารอนุพันธ์ตั้งแต่นั้นมา

 

เริ่มต้นทำงาน


 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER04 2 
เมื่อเรียน MBA จบ ปี 1996 ได้เริ่มทำงานที่บล.เอกธำรง ตอนนั้นในไทยยังไม่มีตลาดอนุพันธ์ หรือแม้แต่การทำธุรกรรมการยืม และให้ยืมหักทรัพย์ (SBL) จากนั้นก็ได้ทำงานด้าน Port Trading ลักษณะการเทรดหุ้นในช่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นการเล่นกับทิศทางของตลาด (Directional Trade) แต่ก็พยายามทำพวกกลยุทธ์การจับคู่ซื้อขายหลักทรัพย์ (Pair Trade) หรือกลยุทธ์อื่นๆ

 

สำหรับด้านงานที่เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ ได้มีโอกาสทำงานในคณะทำงานอนุพันธ์ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังเริ่มสร้างตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย และได้ไปดูงานในต่างประเทศ ผมเป็นรุ่นแรกที่ถูกส่งไปที่ชิคาโก้ ไปดูตลาดอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไปดูทั้งผู้ประกอบการ หรือบริษัทที่ทำ Hedge Fund ได้ไปเห็นลักษณะการซื้อขาย และการใช้ตราสารอนุพันธ์ ทำให้มีความประทับใจและเห็นว่าทิศทางของตลาดการเงินในเมืองไทยก็คงจะโตมาทางนี้ คือการที่ตราสารอนุพันธ์คงจะเข้ามามีบทบาทในตลาดการเงิน จึงมีความตั้งใจว่าจะกลับมาทำเรื่องเหล่านี้ในตลาดบ้านเรา

 

การดูงานที่ชิคาโก้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างบุคคลากรให้เข้าใจตลาดอนุพันธ์มากขึ้น ซึ่งชิคาโก้เป็นตลาดแรกๆ ในการซื้อขายอนุพันธ์ เราได้เห็นลักษณะของการซื้อขาย ยังเป็น Pit Trading ส่งสัญญาณซื้อขายกัน ทำให้ได้เห็นความสำคัญของผู้ดูแลสภาพคล่องการซื้อขาย (Market Maker) ช่วยให้ตลาดมีสภาพคล่อง ได้เห็นว่าตลาดที่นั่น มี Activity ที่หลากหลาย และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  

ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง
ในปี 1997 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง บล.เอกธำรงถูกบริษัทจากไต้หวันคือ KGI เข้ามาเทคโอเวอร์ ทำให้ในแง่ของอาชีพอาจได้รับผลกระทบอยู่บ้าง อย่างตลาดหลักทรัพย์เองก็หยุดโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ไปพักใหญ่ แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ก็กลับมาพัฒนาตลาดอนุพันธ์ต่อ พร้อมทั้งอนุญาตให้ทำ SBL และเริ่มร่างกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาต่อไป

 

ปลายปี 2005 ได้มีโอกาสไปทำงานที่ฮ่องกง เนื่องจากทาง KGI Hongkong กำลังตั้งทีมเทรดใหม่ ได้มีโอกาสไปคุยว่าเราสนใจไปทำงานในส่วนนั้นและได้ไปในปี 2006 ตอนนั้นทีมที่ตั้งขึ้นมาตั้งใจทำเหมือน Hedge Fund เลย แต่ก่อนที่จะรับเงินลูกค้ามาบริหารก็เริ่มจากเงินบริษัทก่อน

 

ผมเองที่ไปทำ Quantitative Trading กับ Systematic Trading โดยโฟกัสกลุ่มที่เป็น Index Futures ของตลาดต่างๆ ในภูมิภาคซึ่งมีสภาพคล่องมากพอ และการเทรดแบบระยะสั้น สำหรับการเทรดแบบ quantitative trade / systematic trade ในขณะนั้นยังไม่ได้เยอะมาก แต่ก็มีการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการเทรด เช่น DMA (Direct Market Access) ก็ทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ทางด้านโปรแกรมมิ่งด้วย

 

ผมทำอยู่ที่ฮ่องกง 3 ปี ได้เห็นว่าตลาด และเทคโนโลยีเมืองนอกเค้าไปไกลขนาดไหนแล้ว แต่สิ่งที่คาใจคือเรายังไม่ค่อยได้ทำเรื่องของอนุพันธ์เท่าไหร่จะเน้นเรื่องเทรดดิ้งเป็นหลัก

 

กลับมาเมืองไทย และร่วมงานกับภัทร
ในปี 2009 ตัดสินใจย้ายกลับมาเมืองไทย ซึ่งหัวหน้าเก่าทำอยู่ภัทรจึงชวนมาทำ เพราะตอนนั้นกำลังหาคนมาช่วยทำ Financial Product ที่ภัทร ซึ่งตรงกับสิ่งที่เราอยากทำเพราะเราก็ยังมี Passion ว่าสิ่งที่เราเคยได้ไปเห็นที่ชิคาโก้ มันน่าจะเป็นธุรกิจในอนาคตของตลาดไทย ประกอบกับภัทรมีจุดแข็งคือฐานลูกค้าที่เป็นสถาบันแลลูกค้ารายใหญ่ซึ่งเหมาะกับผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ ซึ่งก็คือสิ่งที่เราได้เห็นจากเมืองนอกเค้ามีมา

 

ตอนอยู่ภัทรในช่วงแรกได้รับผิดชอบเรื่องธุรกิจที่ทำ Financial Product ตัวแรกที่ทำคือ Structured Note ขยายความ Structured Note คือตราสารหนี้ ที่ผลตอบแทนของตราสารจะไปอิงกับราคาของสินทรัพย์หรือดัชนีใดๆ เช่นราคาหุ้น ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีราคาตราสารหนี้

 

สำหรับ Derivative จริงๆ ไม่ได้เป็นตราสารทางการเงิน จริงๆ มันคือสัญญาเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความเสี่ยงระหว่างคนที่ถือครองสัญญาทำให้คนที่ถือครองสัญญาเข้าไปมี Exposure (มูลค่าการลงทุน) ได้โดยที่ไม่ต้องเข้าไปซื้อตราสารนั้นโดยตรง เป็นสัญญาที่แลกเปลี่ยน Return หรือผลตอบแทนของตราสาร ฉะนั้น เนื่องจากตัวอนุพันธ์เป็นสัญญา มันสามารถอ้างอิงกับอะไรก็ได้เช่นหุ้น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนหรือแม้แต่ดัชนีราคาหุ้นก็ได้

 

Structured Note ตัวแรกที่ภัทรออกคือ Equity Linked Note หรือ ELN เป็น Discount bond ซึ่งโดยปกติจะมีอายุสั้น ไม่มีดอกเบี้ยจ่ายระหว่างทาง มี Feature ที่สำคัญคืออ้างอิงกับราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อถึงวันครบกำหนดอายุจะมาดูว่าราคาหุ้นนั้นสูงหรือต่ำกว่าราคาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ ถ้าสูงกว่าก็ได้รับเงินลงทุนพร้อมกับผลตอบแทนคืนไป ซึ่งด้วยความที่มีการอ้างอิงกับราคาหุ้นทำให้ผลตอบแทนของ ELN จะสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป ซึ่งปกติ ELN จะให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 8-10% ต่อปี แต่ความเสี่ยงคือถ้าราคาหุ้นต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ ลูกค้าจะได้รับส่งมอบเป็นหุ้นเสมือนซื้อหุ้นที่ราคาใช้สิทธิ คือเป็นการซื้อหุ้นที่ราคาสูงกว่าตลาด ณ ขณะนั้น จึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

 

เราทำ Structured Note มาหลายปี และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าซึ่งอาจมีมุมมองการลงทุนที่ต่างกัน ในจังหวะที่ต่างกัน จึงอาจจะต้องการผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ต่างกัน เราจึงต้องมีตราสารที่หลากหลายซึ่งมีเงื่อนไขการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน

 

Challenge ในการทำงาน

 
เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER07 2 

การทำธุรกิจนี้ในเมืองไทย เรื่องแรกคือการสร้างทีมขึ้นมา ลักษณะของธุรกิจ และพัฒนาการของตลาดทำให้เราต้องการคนที่มีความรู้พื้นฐานที่จะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นเราต้องการคนที่มี Potential มี Academic knowledge และต้องใช้เวลาในการสร้างคน

 

เรื่องที่ 2 คือด้านความรู้ความเข้าใจของผู้แนะนำการลงทุน และนักลงทุนเอง เนื่องจากตราสารมีความซับซ้อนกว่าปกตินักลงทุนที่ลงทุนแต่ใน Traditional Market (เช่นหุ้นหรือพันธบัตร) เวลาที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ นักลงทุนก็จะมีข้อสงสัยเยอะ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับทั้งลูกค้า และผู้แนะนำการลงทุนค่อนข้างเยอะ ซึ่งก็จะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นถึงโอกาสในการลงทุนแบบที่เป็น Win-win ได้

 

เรื่องที่ 3 ตัวนักลงทุนเองอาจมีมุมมองและข้อจำกัดของการลงทุนเอง ทำให้เราต้องพัฒนา Product on Shelf ให้มีมากขึ้น รวมทั้งในแง่บริการที่จะให้นักลงทุนสามารถติดตามผลการลงทุนของตัวเองได้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งเราต้องพัฒนาขึ้นมาเอง เนื่องจากการซื้อระบบสำเร็จรูปมาใช้อาจจะไม่ตอบโจทย์ซะทีเดียว จึงต้องมีทีมโปรแกรมเมอร์เพื่อพัฒนาระบบของเราขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างที่ต้องการ

 

เรื่องที่ 4 คือความต้องการของตลาดที่โตมากขึ้น ซึ่งมาในรูปแบบของความต้องการผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น และยังมีคู่แข่งจากทั้งในและต่างประเทศ สำหรับคู่แข่งในประเทศเอง เราค่อนข้างมีประสบการณ์มานานกว่า ส่วนคู่แข่งต่างประเทศได้เปรียบในเรื่อง Level ของ Service ที่ให้ได้

 

ทั้งนี้กลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทรเองก็พยายามที่จะเปิดตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น บริการ Global Investment Service รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับลูกค้า เราร่วมมือกับธนาคารให้สามารถออกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น เรามีทั้งธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่ทำให้เรามีช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการในด้านการลงทุนของลูกค้าได้อย่างรอบด้าน

จากนี้ไปจะเข้าสู่ช่วงบทสนทนากับดร. จอนถึงที่มาที่ไป การหาคำตอบทางความคิด ประสบการณ์ที่สำคัญหลายด้านในต่างประเทศทั้ง บริหารกองทุนระดับโลก วิเคราะห์เศรษฐกิจและการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐ (US Federal Reserve หรือชื่อย่อ Fed) รวมทั้งประสบการณ์การวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ที่หาตัวจับได้ยากที่สุดคนหนึ่งของไทย

 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER02 2 

ด้วยความเป็นคนชอบคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ชอบทำอะไรที่ท้าทาย และที่สำคัญต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์รอบตัว อย่างการทำงานวิจัยก็เป็นการแก้ปัญหาแบบหนึ่ง เหมือนมีคำถามที่เราอยากเข้าใจว่ามันคืออะไร ทำวิจัยแล้วทำให้ได้คำตอบ หรือเข้าใจมากขึ้น สำหรับการลงทุนก็เหมือนกัน โจทย์ที่สำคัญคือต้องการเข้าใจผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆและนำมาสร้างพอร์ตการลงทุน ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม

 

สิ่งที่ท้าทายของการลงทุนก็คือ การมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งที่สามารถคาดเดาได้และไม่ได้ ข้อดีของการลงทุนก็คือเราสามารถดูผลได้ทุกวัน แต่การทำความเข้าใจว่าเราคิดครบและถูกต้องหรือไม่นั้นอาจทำไม่ได้ง่าย เนื่องจากอาจมีปัจจัยต่างๆ แทรกซ้อนเข้ามาได้ตลอดเวลา รวมทั้งความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วย เสน่ห์ที่สำคัญของการลงทุนคือการผสมผสานระหว่างการคิดแก้ปัญหาในสิ่งที่ท้าทายกับโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าเป็นนักวิจัยอย่างเดียวทำวิจัยออกมาตีพิมพ์เสร็จก็จบไปเราไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ทำมันผิดหรือถูกอย่างไรในอนาคต ข้อดีอีกอันหนึ่งที่สำคัญสำหรับการลงทุนคือสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อบริหารเงินตัวเองได้

 

เข้ามาทำงานที่ภัทรได้อย่างไร

ความตั้งใจแรกในการเรียนปริญญาเอก คืออยากกลับมาเป็นอาจารย์ที่เมืองไทย แต่พอใกล้ๆ จะกลับมาได้ลองคิดดูอีกครั้ง แล้วรู้สึกว่ามันไม่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากผมมองหาความตื่นเต้นและท้าทาย จึงตัดสินใจว่าต้องหาประสบการณ์ในบริษัทเอกชนที่สหรัฐดูก่อนเพื่อจะได้มีทางเลือกเพิ่มให้กับอนาคตของเรา พอไปทำที่ BGI (Barclays Global Investors) ก็รู้สึกชอบและสนุกมาก ทำให้สนใจงานทางภาคการเงินเอกชน ก่อนผมจะย้ายกลับมาเมืองไทยก็ได้บินกลับมาหางานอยู่สองครั้ง ได้ติดต่อเพื่อคุยงานกับองค์กรต่างๆ  และโชคดีที่ได้มีโอกาสคุยกับพี่เตา (คุณบรรยง พงษ์พานิช) ที่ภัทร ผมก็ได้มาสัมภาษณ์งานในตำแหน่งต่างๆ ที่ภัทร และพี่ๆ ถามผมว่าอยากทำอะไร ผมเลยบอกว่าสนใจอยากมาสร้าง Quantitative Investment ที่เมืองไทย ก็เลยได้เสนอแผนธุรกิจ ทางภัทรเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่สนใจและให้โอกาสผมในการสร้างธุรกิจนี้ ผมเลยได้เข้ามาร่วมงานกับภัทรและสร้างธุรกิจใหม่โดยเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่จ้างคน จัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ และข้อมูลต่างๆ โดยเข้ามาอยู่ในส่วนงานบริหารเงินลงทุนของบริษัท (Principal Investment) รวมทั้งได้มีการสร้างทีมที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ซึ่งมีการใช้ Big Data และ Machine Learning และการสร้างแบบจำลองการลงทุนต่างๆ

 

สำหรับ บล.ภัทร เราเป็นกลุ่มแรกๆ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ Structured Note ออกมา ทั้งนี้ด้วยลักษณะของลูกค้าบล.ภัทรที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ประกอบกับ Financial Consultant ของเราที่สามารถเข้าใจและถ่ายทอดมุมมองในการลงทุนให้กับลูกค้าได้ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงในประเทศไทยของบล.ภัทรเติบโตขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในปัจจุบัน


ในต่างประเทศถ้าเป็นลักษณะของตลาดที่แตกต่างกัน ความนิยมที่มีต่อ Structured Note ก็จะต่างกัน ทั้งนี้ช่วงเวลาแต่ละช่วงเวลาก็มีความแตกต่างกันด้วย เช่น ในฮ่องกงคนจะนิยมการลงทุน Bear, Bull, Yield Enhance Note หรือในออสเตรเลียคนนิยม Autocallable Fix Coupon Note สำหรับในประเทศไทยคนนิยม Equity Linked Note, Autocallable Fix Coupon Note และ Principal Protected Note

 

สิ่งที่กำลังโฟกัสอยู่ในขณะนี้

 เปิดตัว-KKP-ADVICE-CENTER06 2  

ด้วยประสบการณ์การบริหารธุรกิจ Quantitative Investment มาเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ประกอบกับปัจจุบันมีกองทุนและเครื่องมือทางการเงินทั้งในและต่างประเทศหลากหลายชนิดที่ลูกค้าสามารถเลือกได้ ซึ่งเพิ่มความยากในการตัดสินใจลงทุนสำหรับลูกค้าบุคคลแต่ละราย ทาง Phatra Wealth Management จึงได้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ในฝ่ายลูกค้าบุคคลที่ชื่อว่า Investment Solutions โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยลูกค้าบริหารการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (Solution-based Service) ซึ่งได้มีการรวมองค์ความรู้ในด้านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการลงทุนแบบเชิงปริมาณ รวมถึงบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาไว้ในที่เดียว เพื่อทำการเลือกเครื่องมือทางการเงินไปจนถึงการจัดพอร์ตที่เหมาะสมให้ลูกค้าในแต่ละราย โดยพิจารณาทั้งในด้านผลตอบแทน ความเสี่ยง และข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งในต่างประเทศหน่วยงานประเภทนี้เป็นหน่วยงานหลักที่มีความสำคัญมากในการให้บริการลูกค้าในธุรกิจ Wealth Management

*ให้บริการโดยบริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร  บทความนี้ไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาใดๆ กรุณาติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มเติมได้ที่ 02 305 9559

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง >>> Phatra Smart MV <<<

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง >>> Phatra GIS <<<

# อื่นๆที่น่าสนใจ

แนะนำจากบทความ
30 พ.ค. 2562
ทำไมเราต้องลงทุน?
Investment
27 พ.ค. 2562
“ขยายธุรกิจ” อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วย 4 ข้อควรคิดก่อนขยายกิจการ
Business