Money

เส้นทางสู่เงินล้านอย่างมั่นคง ด้วยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

Post by | Admin

infrastructure-thumbnail

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและตราสารหนี้ค่อนข้างมาก

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมีโครงสร้างและลักษณะหลายๆ อย่างคล้ายกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แต่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถูกกำหนดให้ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง โดยมีการระบุประเภทกิจการที่สามารถลงทุนไว้อย่างชัดเจน เช่น ระบบขนส่งทางราง ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม และ ทางพิเศษ เป็นต้น นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ช่วยลดภาระทางการคลัง และเป็นทางเลือกการระดมทุนของภาคเอกชน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในฐานะการลงทุนทางเลือกยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการต่อนักลงทุน เช่น 1) เพิ่มทางเลือกในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีรายได้ประจำ เช่น ค่าโดยสาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หรือค่าผ่านทาง 2) มีทางเลือกค่อนข้างหลากหลายในแง่ของผลตอบแทนและความเสี่ยง เนื่องจากกิจการโครงสร้างพื้นฐานอาจจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน และมีที่มาของรายได้ที่หลากหลาย 3) มีขนาดกองทุนที่ค่อนข้างใหญ่เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปมีมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้มีสภาพคล่องการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยทั่วไปดีกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ 4) มีความยืดหยุ่นในการระดมทุนเนื่องจากสามารถกู้ยืมได้สูงสุด 3 เท่าของทุน และ 5) ทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดีกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยนักลงทุนบุคคลได้รับการยกเว้นภาษีเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ตั้งกอง

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไปต้องนำมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้นักลงทุนซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้เช่นเดียวกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และมีข้อจำกัดในการลงทุนในโครงการที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ (Greenfield) ไม่เกิน 30% และกำหนดอัตราการจ่ายปันผลขั้นต่ำที่ 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางด้านรายได้ของกองทุน การเข้าลงทุนอาจจะเป็นได้ทั้งการเข้าไปซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะเทียบเคียงได้กับการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบ Freehold หรือเป็นการลงทุนในสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน หรือสิทธิในการรับรายได้ในอนาคต ซึ่งถ้ามีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนก็จะเทียบเคียงได้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์แบบ Leasehold ปัจจุบันมีกองทุนรวมโครงพื้นฐานที่ซื้อขายในตลาดเพียง* 4 กอง เป็นกิจการโทรคมนาคม 2 กอง และมีรถไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าอย่างละกอง ผลตอบแทนที่จ่ายให้ผู้ถือหน่วย** อยู่ที่ 7.1% - 8.2% ไม่รวมส่วนของเงินต้นที่คืนให้กับผู้ถือหน่วยจากการลดลงของมูลค่าทรัพย์สิน จะเห็นว่าผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจไม่แพ้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและตราสารหนี้ค่อนข้างมาก

ความเสี่ยงหลักของการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานก็คล้ายกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์คือเงินปันผลจะขึ้นกับผลประกอบการของกองทุน และมูลค่าเงินลงทุนผันผวนไปตามราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นนักลงทุนควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานของกองทุนและมูลค่าที่เหมาะสม คล้ายกับการศึกษาหุ้นบริษัทจดทะเบียน อย่างไรก็ตามกิจการโครงสร้างพื้นฐานบางโครงการอาจจะมีความเสี่ยงทางด้านกฎระเบียบและกฎหมายค่อนข้างสูงเนื่องจากเกี่ยวข้องกับสัมปทานภาครัฐหรืออาจจะถูกกำกับดูแลค่อนข้างเข้มงวดเนื่องจากเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้าง เพราะฉะนั้นนักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการศึกษาหนังสือชี้ชวนในส่วนของการเปิดเผยความเสี่ยงมากเป็นพิเศษสำหรับกองทุนประเภทนี้ สำหรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในการซื้อขายหน่วยลงทุนแม้จะเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่สำหรับพอร์ตการลงทุนขนาดใหญ่ก็อาจจะเป็นปัญหาได้เหมือนกัน 

* ณ วันที่ 3 ก.ค. 58 
** ผลตอบแทนที่จ่ายคืนให้กับผู้ถือหน่วยย้อนหลัง 1 ปี ของกองทุน BTSGIF, ABPIF, TRUEIF และ JASIF โดยคำนวณจากราคา ณ วันที่ 3 ก.ค. 58 และไม่รวมเงินลดทุนที่เกิดจากมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลง

บทความโดย
คุณทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ
ผู้อำนวยการอาวุโส ทีมวิจัยลูกค้าบุคคล บลจ.ภัทร จำกัด (มหาชน)

แนวโน้มของราคาทอง

มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม

 

ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน

สรุปทิศทางราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม