Business
SME ทำความเข้าใจ เมื่อไหร่ต้องจด VAT
- 09 มิ.ย. 64
- 2,032

คนทำธุรกิจไม่ว่าจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือนิติบุคคล พอเริ่มมีรายได้ก็จะต้องทำความเข้าใจเรื่องภาษี หนึ่งในภาษีที่ทำให้ SME ปวดหัวอยู่ไม่น้อยนอกจากภาษีเงินได้คือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) วันนี้ KKP Advice Center ขอพาทุกท่านมาทำความเข้าใจว่า การจด VAT คืออะไร และเมื่อไหร่ต้องดำเนินการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นภาษีจากการขายสินค้าทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีตั้งแต่ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ขาย ตลอดจนผู้บริโภคทั่วไป ในปัจจุบันจัดเก็บที่ 7%
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่สามารถผลักภาระนี้ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้ายได้ นั่นหมายความว่าการกำหนดราคาสินค้าต้องพิจารณาส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งเจ้าของกิจการบางรายก็คงแอบคิดว่า ถ้าไม่จด VAT เราก็สามารถขายถูกได้ แต่เดี๋ยวก่อนสรรพากรอาจจะเล่นงานคุณย้อนหลังได้และที่สำคัญก็ยังมีประโยชน์ในมุมที่คุณคิดไม่ถึง ว่าแต่เมื่อไหร่ต้องไปจด VAT มาดูกันเลย
1. เป็นประเภทธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยกเว้น กรมสรรพากรมีระบุไว้ชัดเจนถึงประเภทธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่จำเป็นต้นจด VAT เช่น ธุรกิจค้าขายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ ธุรกิจค้าขายสัตว์ภายในประเทศและต่างประเทศทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เป็นต้น
2. มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เมื่อธุรกิจของคุณมีรายได้ในปีนั้นต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาทต้องดำเนินการจด VAT ดังนั้น SME ต้องต้องหมั่นตรวจสอบรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายนะครับ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นกำไร ซึ่งตามกฏหมายกำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการดำเนินการจด VAT ภายใน 30 วันนับตั้งแต่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ซึ่งการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะจ่ายจากส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเท่านั้นนะครับ ทั้งนี้ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่มีทั้งงานประจำและธุรกิจส่วนตัวรายได้ที่นำมาคิดก็เป็นเฉพาะส่วนที่เป็นรายได้จากธุรกิจเท่านั้นครับไม่ต้องกังวลไป
3. เป็นธุรกิจซื้อมาขายไปหรือพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากธุรกิจกลุ่มที่ซื้อมาขายไปจะมี VAT หรือภาษีซื้อ ที่ผู้ขายสินค้าให้เราบวกเพิ่มเข้าไปในตัวสินค้า ดังนั้นเราในฐานะพ่อค้าคนกลางก็ต้องบวกเพิ่มเข้าไปในราคาขายในรูปของภาษีขาย หรือผลักภาระไปยังผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นหากคุณเป็นพ่อค้าคนกลางการจด VAT ก็จะเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุณได้เพราะคุณสามารถขอคืนภาษีซื้อได้หากภาษีซื้อเดือนนั้นๆมากกว่าภาษีขาย
4. เป็นบริษัทที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า หากลูกค้าของคุณเป็นธุรกิจซึ่งมีการเข้าระบบ VAT นั่นหมายความว่าลูกค้าคาดหวังจะได้ประโยชน์ทางภาษีจากบริษัทคุณเช่นกัน ดังนั้นคุณควรรีบจด VAT เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาฐานลูกค้าถึงแม้รายได้ต่อปีจะยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาทก็ตาม
เรื่องการเงิน-บัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถให้คำปรึกษา ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เห็นความจำเป็นดังกล่าว ซึ่งหากท่านเป็นลูกค้า KKP SME ท่านสามารถใช้สิทธิฟรีปรึกษาวางแผนโครงสร้างการเงิน บัญชี ภาษีธุรกิจ 1 ครั้งมูลค่า 5,000 บาท และดีลส่วนลดอื่นๆ จากสำนักบัญชีบนกองเงินกองทอง ภายใต้โครงการ KKP SME ฟรีโซลูชั่นได้ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่สามารถผลักภาระนี้ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้ายได้ นั่นหมายความว่าการกำหนดราคาสินค้าต้องพิจารณาส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งเจ้าของกิจการบางรายก็คงแอบคิดว่า ถ้าไม่จด VAT เราก็สามารถขายถูกได้ แต่เดี๋ยวก่อนสรรพากรอาจจะเล่นงานคุณย้อนหลังได้และที่สำคัญก็ยังมีประโยชน์ในมุมที่คุณคิดไม่ถึง ว่าแต่เมื่อไหร่ต้องไปจด VAT มาดูกันเลย
1. เป็นประเภทธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยกเว้น กรมสรรพากรมีระบุไว้ชัดเจนถึงประเภทธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่จำเป็นต้นจด VAT เช่น ธุรกิจค้าขายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ ธุรกิจค้าขายสัตว์ภายในประเทศและต่างประเทศทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เป็นต้น
2. มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เมื่อธุรกิจของคุณมีรายได้ในปีนั้นต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาทต้องดำเนินการจด VAT ดังนั้น SME ต้องต้องหมั่นตรวจสอบรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายนะครับ ไม่ใช่ส่วนที่เป็นกำไร ซึ่งตามกฏหมายกำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการดำเนินการจด VAT ภายใน 30 วันนับตั้งแต่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ซึ่งการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะจ่ายจากส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเท่านั้นนะครับ ทั้งนี้ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่มีทั้งงานประจำและธุรกิจส่วนตัวรายได้ที่นำมาคิดก็เป็นเฉพาะส่วนที่เป็นรายได้จากธุรกิจเท่านั้นครับไม่ต้องกังวลไป
3. เป็นธุรกิจซื้อมาขายไปหรือพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากธุรกิจกลุ่มที่ซื้อมาขายไปจะมี VAT หรือภาษีซื้อ ที่ผู้ขายสินค้าให้เราบวกเพิ่มเข้าไปในตัวสินค้า ดังนั้นเราในฐานะพ่อค้าคนกลางก็ต้องบวกเพิ่มเข้าไปในราคาขายในรูปของภาษีขาย หรือผลักภาระไปยังผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นหากคุณเป็นพ่อค้าคนกลางการจด VAT ก็จะเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุณได้เพราะคุณสามารถขอคืนภาษีซื้อได้หากภาษีซื้อเดือนนั้นๆมากกว่าภาษีขาย
4. เป็นบริษัทที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า หากลูกค้าของคุณเป็นธุรกิจซึ่งมีการเข้าระบบ VAT นั่นหมายความว่าลูกค้าคาดหวังจะได้ประโยชน์ทางภาษีจากบริษัทคุณเช่นกัน ดังนั้นคุณควรรีบจด VAT เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาฐานลูกค้าถึงแม้รายได้ต่อปีจะยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาทก็ตาม
เรื่องการเงิน-บัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถให้คำปรึกษา ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เห็นความจำเป็นดังกล่าว ซึ่งหากท่านเป็นลูกค้า KKP SME ท่านสามารถใช้สิทธิฟรีปรึกษาวางแผนโครงสร้างการเงิน บัญชี ภาษีธุรกิจ 1 ครั้งมูลค่า 5,000 บาท และดีลส่วนลดอื่นๆ จากสำนักบัญชีบนกองเงินกองทอง ภายใต้โครงการ KKP SME ฟรีโซลูชั่นได้ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก