ลงทุนกับเราตั้งเป้าได้เป็นล้าน : Early Retire แสนสบายบนกองเงินล้านเหรียญ
อยากเกษียณอย่างเกษม มีเงินล้านเหรียญ$ ไม่ใช่เรื่องยาก แค่รู้จักลงทุนและวางแผนทางการเงิน โอกาสเป็นเจ้าของเงินล้านอยู่ตรงหน้า
1.ออมก่อนสบายก่อน
เรามักเข้าใจกันว่าการออมค่อยเริ่มหลังจากมีเงินเหลือใช้แล้ว โดยเอาค่าใช้จ่ายเป็นที่ตั้ง เช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และรอค่าใช้จ่ายพวกนี้หมดไปก่อนแล้วค่อยมาว่ากันเรื่องออม แต่ลืมนึกไปว่า เวลาเป็นอุปสรรคสำคัญของเป้าหมายอิสรภาพทางการเงิน ดูตัวอย่างง่ายๆ สมมตินักศึกษาจบใหม่อายุ 25 ปี ตั้งเป้ามีอิสรภาพทางการเงินอายุ 55 ปี ดังนั้นจะมีระยะเวลาลงทุนสูงถึง 30 ปี กับอีกแบบคือรอจนมีเงินเก็บเหลือใช้แล้วเริ่มออมเมื่ออายุ 40 ปี จะเห็นว่าตัวอย่างหลังเหลือระยะเวลาลงทุนเพียง 15 ปี ต่างกันถึง 2 เท่า โดยระยะเวลาลงทุนที่มากกว่าทำให้เรามีอำนาจในการรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น กล่าวคืออาจลงทุนในสินทรัพย์ Commodity หรือหุ้นสามัญที่มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยระยะยาวสูงกว่าตราสารหนี้ ในสัดส่วนเงินที่มากขึ้น การที่เราสามารถเสี่ยงได้มากขึ้น หมายถึงเงินออมที่ต้องออมในแต่ละเดือนลดลงไปด้วยจากผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น แต่หากเรามีระยะเวลาลงทุนเพียง 10 ปี ถึงแม้อัตราการออมของเราสูงกว่าตอนอายุ 25 ปี แต่อย่าลืมเมื่ออายุมากขึ้นทำให้เรารับความเสี่ยงได้น้อยลง
จากตารางด้านล่างจะเห็นว่าเริ่มลงทุนตอนอายุ 40 ปีด้วยเงินที่มากกว่าถึง 2 เท่า แต่ระยะเวลาลงทุนลดลง 2 เท่าเช่นกัน จะเห็นว่าเงินที่น้อยกว่าสามารถแซงได้ด้วยจำนวนปีลงทุนที่ยาวขึ้น สุดท้ายแล้วคนที่ออมก่อนจะได้เปรียบเสมอ
เงินเริ่มต้น (บาท) | ระยะเวลาลงทุน (ปี) | ผลตอบแทนต่อปี | เงินปลายงวด (บาท) |
1 | 30 | 5% | 4.32 |
2 | 15 | 5% | 4.16 |
เราลองสมมุติไปอีกว่าหากต้องการมีเงินล้านเหรียญตอนเกษียณ หากตอนนี้เราอายุ 25 ปี มีเงินเก็บ 100,000 บาท ต้องการใช้เงินต่อเดือนหลังเกษียณ เดือนละ 50,000 บาท (ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่ 4% ต่อปี) และคาดว่าใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 25 ปี เราต้องออมเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ โดยสมมุติให้ออมเพิ่มขึ้นปีละ 10% และผลตอบแทนคาดหวังหลังเกษียญราว 5% ลองนั่งกดเครื่องคิดเลขดูปรากฎว่าต้องการเงินเก็บตอนเกษียณสุทธิ 43,158,515 บาท เพื่อให้เพียงพอตามเป้าหมาย ดูตัวเลขแล้วเหมือนจะทำยาก แต่ลองดูตารางด้านล่าง ออมเพียงเดือนละ 5,000 บาท และหวังผลตอบแทนต่อปีที่ 11.84% ถึงจะทำได้ตามเป้าหมาย แต่หากเพิ่มจำนวนเงินออมจะส่งผลให้ผลตอบแทนคาดหวังต่ำลงตามไปด้วย
งินเริ่มต้น (บาท) | ระยะเวลาลงทุน (ปี) | ผลตอบแทนต่อปี | เงินปลายงวด (บาท) |
1 | 30 | 5% | 4.32 |
2 | 15 | 5% | 4.16 |
2. ปกป้องพอร์ตลงทุนยามเศรษฐกิจตกต่ำ
การวางแผนเกษียณเป็นการวางแผนการลงทุนในระยะยาว ดังนั้นเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของเศรษฐกิจในช่วงแย่ได้ เช่น ปี 2551 สมัยเกิด Hamburger Crisis ทุกสินทรัพย์ทั่วโลกให้ผลตอบแทนติดลบหมด โดยที่ดีที่สุดคือตราสารหนี้ลดลงเพียง 3% และแย่สุดคือตลาดหุ้นในประเทศกำลังพัฒนาลดลงมากถึง 53% สำหรับ SET Index ไทยก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ลดลงถึง 47% ดังนั้น อันดับแรกที่ป้องกันความเสี่ยงอย่างง่ายที่สุดคือการกระจายการลงทุนไปหลายสินทรัพย์ อย่าถือเพียงสินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ถือหุ้น 100% ของพอร์ตลงทุน หากผลตอบแทนลดลง 50% แสดงว่าเราต้องทำผลตอบแทนในปีถัดไปถึง 100% เพื่อให้พอร์ตเรามีมูลค่าเท่าทุนจากปีก่อนหน้า ประเด็นถัดมาที่ดูซับซ้อนขึ้นแต่มีประโยชน์อย่างมากในมุมมองการป้องกันความเสี่ยงคือ ใช้อนุพันธ์ (Derivative) ช่วยป้องกันความเสี่ยง เช่น หากเราลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย เราสามารถป้องกันความเสี่ยงได้โดยการ Short (เสมือนว่าขายหุ้นออกไปก่อนแล้วค่อยซื้อคืนตอนหลัง) อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 การที่เรามีสถานะ Short หมายถึง หากดัชนี SET50 ลดลง เราจะมีกำไรจากอนุพันธ์ แต่หากดัชนี SET50 เพิ่มขึ้น เราจะขาดทุนจากอนุพันธ์แต่จะได้กำไรจากหุ้นมาชดเชยผลขาดทุนจากอนุพันธ์แทน
ประเด็นปัญหาที่เข้าใจยากคือ เราจะ Short กี่สัญญา และหากเราไม่ได้ลงทุนหุ้นทั้ง 50 ตัวใน SET50 มันจะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้จริงหรือ? ตรงนี้ทางการเงินสามารถใช้ค่า Beta (เปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่างหุ้นที่เราสนใจกับดัชนี SET Index) ของหุ้นมาใช้ได้ โดยค่า Beta มองว่าความเสี่ยงของนักลงทุนมีเพียงอย่างเดียวคือความผันผวนของตลาด โดยความเสี่ยงอื่นๆ นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง เช่น ความเสี่ยงของเงินปันผล หากเราลงทุนหุ้นที่ไม่จ่ายปันผลเลย เราสามารถสร้างปันผลง่ายๆ โดยการขายหุ้นออกมาบางส่วนให้เท่ากับอัตราปันผลที่เราต้องการ แต่ความเสี่ยงตลาดสะท้อนจากค่า Beta เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถลดได้ (Systematic Risk) โดยหาก Beta เท่ากับ 1 เท่า แสดงว่าหุ้นนั้นมีความผันผวนเท่าตลาด ดังนั้น Beta ที่สูงกว่า 1 เท่าสะท้อนว่าหุ้นนั้นผันผวนมากกว่าตลาดนั่นเอง
ตัวอย่าง สมมุติมีหุ้น 2 ตัวในพอร์ตลงทุนคือ PTT และ BBL
เงินออมต่อเดือน (ออมเพิ่มขึ้นปีละ 10%) | ผลตอบแทนคาดหวังก่อนเกษียณ |
5,000.00 | 11.84% |
7,000.00 | 9.66% |
9,000.00 | 7.85% |
11,000.00 | 6.26% |
12,000.00 | 5.53% |
จำนวนสัญญาเท่ากับ
สมมุติ ณ ปัจจุบัน SET50 Index อยู่ที่ระดับ 1000 จุด และเราต้องการ Target Beta = 0
เพื่อป้องกันความผันผวนจากตลาดทั้งหมด ดังนั้นจำนวนสัญญาที่เราต้อง Short เท่ากับ
โดยเครื่องหมายลบหมายถึงเราต้อง Short อนุพันธ์ SET50 และควร Short จำนวน 6 สัญญา อย่างไรก็ตามการป้องกันความเสี่ยงด้วยวิธีนี้อาจจำเป็นต้องมีการปรับจำนวนสัญญา เพราะค่า Beta อาจไม่คงที่
บทความโดย
คุณธริสา ชัยสุนทรโยธิน
ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานลูกค้าบุคคล บล.ภัทร จำกัด (มหาชน)