สเต็ปเทพสร้างล้านแรก
สเต็ป 1 รู้จักประเภท "ทุน"
สเต็ป 2 เข้าใจรูปแบบการลงทุน
สเต็ป 3 ตั้งเป้าการออม
สเต็ป 4 เริ่มออมหุ้นในหุ้นด้วย "กองทุนหุ้นรวม"
สเต็ป 5 ลงทุนระยะยาวแบบ DCA
STEP 1: เข้าใจความหมายของเงินทุน รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ก่อนเริ่มลงทุนเราควรเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าเงินทุนคืออะไร โดยในที่นี้แบ่งเงินทุนออกเป็น 2 ส่วนคือ 1). Human Capital แปลตรงตัวว่าทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์กล่าวง่ายๆ คือ รายรับของเราทั้งหมดในแต่ละปีตั้งแต่ปัจจุบันจนเกษียณอายุคิดลดด้วยความเสี่ยงของแต่ละบุคคลเป็นมูลค่าปัจจุบัน เช่น คุณได้รับเงินเดือน 5 หมื่นบาท อายุปัจจุบัน 30 ปี และมีเป้าหมายทำงานถึงอายุ 40 ปี โดยสมมุติทำงานไป 10 ปี ไม่มีการขึ้นเงินเดือนเลย ถ้าคิดง่ายๆ คือ คุณมีต้นทุนมนุษย์ราว 6 ล้านบาท ( 50,000*12*10) ก่อนการคิดลดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ดังนั้นเงิน 6 ล้านบาทที่คุณถือมาด้วยปัญญาการทำงานก้อนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนเช่นกัน สำหรับส่วนที่ 2). Financial Capital แปลว่าทุนหรือสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินฝากในธนาคาร เงินลงทุนในหุ้น ประกันชีวิต เป็นต้น โดยสมมุติมีเงินออมในธนาคารรวมเงินลงทุนในประกันชีวิตและหุ้น 1 แสนบาท ดังนั้นความมั่งคั่งโดยรวมของคุณมีค่าประมาณ 6 ล้าน 1 แสนบาท (Human Capital + Financial Capital)
STEP 2: อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ตามปกติของคนเริ่มทำงาน เรามักมีความฝันที่จะท่องเที่ยว ซื้อรถ หรือทำธุรกิจออนไลน์ แต่ปัญหาคือเงินเดือนไม่พอใช้ เงินออมไม่มีเก็บ หลายท่านจึงคิดว่าการลงทุนเป็นสิ่งไม่จำเป็น รอมีเงินเก็บก่อนค่อยลงทุน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเข้าใจผิด เพราะอย่างที่กล่าวไปในข้อแรกว่าความมั่งคั่งทั้งหมดต้องรวมทุนมนุษย์ด้วย โดยอายุยิ่งน้อยทุนมนุษย์เรายิ่งมีมาก เพราะโอกาสในการทำงานมีอีกหลายปี ตามรูปด้านล่างเราเห็นชัดว่าทุนมนุษย์ก่อนอายุ 60 มักมีค่ามากกว่าทุนทางการเงิน และทุนมนุษย์จะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเรามากขึ้น ดังนั้นลงทุนก่อนรวยก่อน ได้เที่ยวก่อน รวมถึงมีรถหรูๆ ขับก่อนด้วย โดยให้มองทุนมนุษย์เปรียบเสมือนสินทรัพย์ตัวหนึ่ง เช่น คนทำงานประจำ หรือรับราชการ จะมีทุนมนุษย์ในรูปของเงินฝาก เพราะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียของรายได้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นคนที่มีทุนมนุษย์ในรูปเงินฝากอยู่มากแล้ว (พนักงานประจำ) และอายุยังน้อย เราสามารถเอาทุนทางการเงินมาลงทุนในหุ้น 100% ได้ หรือหากคนที่ทำงานในตลาดหุ้น มีรายได้ผันผวนตามการขึ้นลงของตลาด เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน มีลักษณะเหมือนการลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว ดังนั้นทุนทางการเงินควรลงทุนในหุ้นต่ำกว่า 80% สะท้อนความเสี่ยงของทุนมนุษย์ที่ขึ้นลงตามตลาดหุ้น สำหรับประกันชีวิตลงทุนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการแบ่งมรดกให้รุ่นลูก หากมีความจำเป็นมากย่อมต้องทำประกันชีวิตมากขึ้น และหากมีสัดส่วนของทุนมนุษย์เทียบกับทุนทางการเงินสูงย่อมต้องทำประกันมากขึ้น ดังนั้นคนที่อายุน้อยๆ สามารถนำสินทรัพย์มาลงทุนในหุ้นได้เกือบ 100% ที่เหลือแบ่งไว้ทำประกันชีวิต และเงินฝากในยามฉุกเฉินอย่างต่ำ 3 เดือนของเงินเดือนน่าจะเพียงพอต่อเป้าหมายการมีเงินเก็บ 1 ล้านบาทได้แล้ว
STEP 3: ออมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ออมเท่าไหร่ถึงรวย? เป็นคำถามที่มักเจอในกลุ่มเพื่อนๆ และนักลงทุนเสมอ ขอแนะนำให้มองเป้าหมายหลักก่อนว่าออมเพื่ออะไร เช่น เกษียณอายุ ออมซื้อรถ หรือ ออมเพื่อเก็บเงินไปเที่ยว แล้วมองต่อไปถึงระยะเวลาการออมกี่ปี เงินลงทุนเริ่มต้นมีเท่าไหร่ ผลตอบแทนคาดหวังในการลงทุนเป็นอย่างไร ฟังถึงตรงนี้หลายๆ คนคงเริ่มปวดหัวแล้วว่าจะคิดกันอย่างไร ดูยุ่งยากไปหมด ทางออกที่ง่ายลองดูตาม link ของภัทร www.phatraedge.com/Planning/Index#/QuestionSet เป็น Financial planning tools ที่ใช้งานง่ายทีเดียว แต่สำหรับวิธีที่ง่ายกว่านี้ เราสามารถใช้กฎ 50-20-30 กล่าวคือ 50% แรกของเงินเดือนสำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น เช่น อาหาร ค่าเดินทาง เสื้อผ้า ค่าน้ำ-ไฟ โดยอีก 20% ของเงินเดือนใช้สำหรับการออมระยะยาวและจ่ายหนี้สินต่างๆ เช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และอีก 30% สุดท้ายใช้จ่ายสำหรับความสุขของชีวิต เช่น ท่องเที่ยวต่างประเทศ ดูหนัง เลี้ยงสัตว์ กิน dinner มื้อสุดหรู ค่ามือถือ และ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
STEP 4: เริ่มออมในหุ้นด้วยกองทุนหุ้น เน้นกระจายความเสี่ยง มาถึงตรงนี้เป็นขั้นตอนการเลือกหุ้น หากใครเป็นนักลงทุนมือใหม่วิธีที่ง่ายที่สุดคือลงทุนในกองทุนหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร มีกองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศ เช่น กองทุนเปิดภัทร แอ็กทิฟ อิควิตี้ที่เน้นเลือกหุ้นเติบโตสูงในระยะยาว หรือกองทุนภัทร ดิวิเดนต์ อิควิตี้ ที่เน้นหุ้นจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคง โดยข้อดีในการเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นทำให้นักลงทุนไม่ต้องมาเสียเวลาในการหาหุ้นเอง ประกอบกับมีผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุนคอยเปลี่ยนหุ้นเข้า-ออก ให้เราตลอดเวลา และยังสามารถกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัวได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนในหุ้นมากกว่า 3 ปี สามารถเลือกลงทุนหุ้นได้เองแล้ว
STEP 5: DCA ทุกเดือน ไม่ต้องกังวลสภาพตลาด สิ่งที่ยากที่สุดในการลงทุนคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าช่วงไหนหุ้นจะขึ้น หรือช่วงไหนหุ้นจะลง โดยเราสามารถลดความเสี่ยงข้อนี้ลงไปได้ด้วยวิธี Dollar-Cost Averaging (DCA) คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยกำหนดเงินลงทุนเป็นงวดๆ เช่น ลงทุนเดือนละ 1 ครั้ง ทุกปลายเดือน เป็นการลงทุนอัตโนมัติไปเรื่อยๆ โดยตั้งเป้าหมายที่จำนวนเงินที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก ข้อดีหลักๆ คือ ถ้าภาวะตลาด ณ ช่วงเวลานั้น มีความผันผวนมาก หรือเป็นตลาดขาลง เราจะขาดทุนน้อยกว่าการลงเงินทั้งหมดในครั้งเดียวตั้งแต่วันแรก และเรายังได้จำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลง ข้อดีอีกข้อที่สำคัญยิ่งกว่าอื่นใดคือ การทำให้เรามีวินัยในการลงทุนนั่นเอง ซึ่งวินัยในการลงทุน ส่งผลให้เราไม่หลงไปกับความผันผวนของตลาดระยะสั้นๆ
บทความโดย
คุณธริศา ชัยสุนทรโยธิน
บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน)
แนวโน้มของราคาทอง
มั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม
ไปดูเหตุผลที่ตลาดไม่เชื่อ หนึ่งในนั้นก็เพราะ กำลังการผลิตนอกกลุ่ม OPEC ก็ยังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐ จากตัวเลขแท่นขุดเจาะรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ตั้งแต่ย่างเข้าไป 2017 เป็นต้นมา รวมถึงการเดินกำลังการผลิต Shale Oil และ Shale Gas ที่สะท้อนว่า ต้นทุนการผลิตของเทคโนโลยีนี้ เข้ามาใกล้จุดที่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำดิบได้แล้วถ้ามองภาพใหญ่กว่านั้น ราคาน้ำมันก็โดนกดดันอยู่มาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด หรือ Clean Energy โดยเทคโนโลยีที่จะมาเป็นคู่แข่งพลังงานน้ำมันจริงๆ ก็คือ Power Storage หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า นั้นเอง เพราะตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ Power Storage จะทำให้การใช้พลังงานสะอาดมีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่มีตัวเก็บประจุ ก็แปลว่า เราจะใช้ไฟฟ้าได้แค่ตอนช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น เทคโนโลยี Power Storage จึงถือว่ามีความสำคัญ และเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดต่ำลงไปอีก และเข้าถึงคนจำนวนมากกว่าปัจจุบัน
สรุปทิศทางราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันถูกเทขายลงมาที่ ราวๆ 42-43 ดอลลาร์ กลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นหลักๆ มาจากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตระหว่าง OPEC และ non-OPEC จะทำได้จริงและตรึงกำลังการผลิตได้จริง ถึงแม้จะมีการขยายระยะเวลาตรึงกำลังการผลิตออกไปถึงปีหน้าก็ตาม
เตรียมตัวอย่างไรถ้าจะลงทุน
เช็คความพร้อมด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ